สภาพทั่วไปและอาณาเขต
แนวทางการจัดการดิน
ข้อมูลระดับจังหวัด
   
   
   
   
   
   
   
สภาพทั่วไปและอาณาเขต
 
   ภาคใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 98 ถึง 103 องศาตะวันออก ประกอบด้วย 14 จังหวัด ประกอบด้วย 14 จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง ภูเก็ต สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 44,196,992 ไร่ หรือ 70,715.187 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13.78 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ มีอาณาเขตด้านทิศเหนือจดอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านทิศใต้จดประเทศมาเลเซีย ด้านทิศตะวันออกจดอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ด้านทิศตะวันตกจดทะเลอันดามันและสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
สภาพภูมิอากาศ
   
 

     ภาคใต้ เป็นพื้นที่ซึ่งมีฝนมากที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุม 3 ทิศทาง ได้แก่
     1) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพาเอาไอน้ำและความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามันเข้ามายังแผ่นดิน ในช่วงเดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน ทำให้เริ่มมีฝนตกชุกทางแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกก่อนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก
     2) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพาเอาไอน้ำและความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามายังแผ่นดินในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนมกราคม ทำให้เริ่มมีฝนตกชุกทางแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกก่อนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก
     3) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จะพัดพาเอาไอน้ำ ความชื้นและความร้อนจากเส้นศูนย์สูตรผ่านอ่าวไทย เข้ามายังแผ่นดินในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน ทำให้มีอุณหภูมิสูงและมีฝนตกกระจัดกระจายเป็นบางครั้ง
     จากอิทธิพลของลมมรสุมทั้ง 3 ทิศทาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกและกระจายสม่ำเสมอเกือบตลอดทั้งปีตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมกราคม และอาจมีฝนตกบ้างในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนและมีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงนี้
    ปริมาณน้ำฝน (rainfall) เฉลี่ยรายปี อยู่ในช่วง 1,418.1-4,183.7 มิลลิเมตร โดย จังหวัดที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของภาคจะมีฝนตกมากกว่าจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของภาค จังหวัดระนอง มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยมากที่สุด ประมาณ 4,183.7 มิลลิเมตร และจังหวัดสุราษฏร์ธานีปริมาณฝนตกน้อยที่สุด ประมาณ 1,418.1-1,635.5 มิลลิเมตร
     อุณหภูมิเฉลี่ย อยู่ในช่วง 20.0-28.1 องศาเซลเซียส และ

   
สภาพภูมิประเทศ
   
 

     ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมหรือแผ่นดินยื่นลงไปในทะเล มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาวทั้งสองด้านรวมกันมากกว่า 2,400 กิโลเมตร ตอนกลางของภาค มีเทือกเขาสูง 3 แนวทอดตัวเป็นแนวยาวเหนือ-ใต้ ทำให้เกิดพื้นที่ลาดเอียงจากตอนกลางลงสู่ชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน ส่วนพื้นที่ถัดขึ้นไปถึงตอนกลางของภาคซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขา มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นเนินเขาที่ลาดเอียงสู่ชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน และ เทือกเขาแต่ละแนวจะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร กำเนิดแม่น้ำและลำน้ำสาขาที่สำคัญหลายสายไหลผ่านกระจัดกระจายทั่วไปลงสู่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน
     ลักษณะภูมิประเทศด้านด้านตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้ มีความแตกต่างกัน คือ
      1) พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก เกิดการยกตัวของแผ่นดิน (emerged shore line)
ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ราบเรียบ หาดทราย เนินทรายหรือสันทรายชายทะเล ชายฝั่งทะเลตื้นที่เป็นตะกอนดินเลนหรือตะกอนทราย อ่าวสำคัญอยู่เพียง 2–3 แห่ง คือ อ่าวสวี อ่าวบ้านดอน และอ่าวนครศรีธรรมราช แต่มีชายหาดยาวมากมายหลายแห่ง เช่น ชายหาดทางจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ที่ราบชายฝั่งตะวันออกมีความกว้างประมาณ 5 – 35 กิโลเมตร แม่น้ำที่ไหล
เป็นสายสั้น ๆ มีกำเนิดมาจากทิวเขาตอนกลาง เช่น แม่น้ำ หลังสวน แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี เป็นต้น เกาะสำคัญ
ทางภาคตะวันออกคือ เกาะสมุย และเกาะพงัน โดยเฉพาะเกาะสมุยเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวเด่นที่สุดทางภาคใต้ เนื่องจากชายฝั่งด้านนี้มีที่ราบกว้างขวางกว่าฝั่งตะวันตก ประชากรจึงทำอาชีพทางการเกษตร ปลูกข้าวเจ้า ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา มะพร้าว และทำการประมง
     2) พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเกิดการจมตัวของแผ่นดิน (submerged shore line)
ทำให้ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเว้าๆ แหว่งๆ มีอ่าวและเกาะแก่งมากมายที่เกิดจากแผ่นดินจมลงไปในทะเล ชายฝั่งทะเลลึก หรือเกิดหน้าผาชันบริเวณแผ่นดินที่เป็นพื้นที่ภูเขาและจมลงไปในทะเล มีหาดทรายน้อย และที่ราบชายฝั่งมักจะเป็นที่
ราบแคบ ๆ มีป่าโกงกางขึ้นอยู่ทั่วไป เศรษฐกิจของประชากรทางชายฝั่งนี้ขึ้นอยู่กับ
การทำเหมืองแร่เป็นสำคัญ โดยเฉพาะแร่ดีบุกและวุลแฟรม สำหรับการทำประมงในทะเลอันดามันกำลังทวีความ
สำคัญมากขึ้น

   
ระบบทางน้ำ
   
       สภาพพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาทอดเป็นแนวยาวในตอนกลางของภาค ทำให้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำ ลำธารหลายสายไหลผ่านและกระจัดกระจายทั่วไปในภาคใต้ โดยไหลออกสู่ทะเลทั้งสองด้าน ได้แก่
     1) แม่น้ำที่ไหลออกสู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำชุมพร แม่น้ำสวีและแม่น้ำหลังสวน ในจังหวัดชุมพร แม่น้ำพุมดวงและแม่น้ำตาปี ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำปากพนัง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช แม่น้ำเทพา ในจังหวัดสงขลา แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรี ในจังหวัดปัตตานี แม่น้ำโกลกและแม่น้ำบางนรา ในจังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสาขาไหลผ่านกระจัดกระจายทั่วไป
     2) แม่น้ำที่ไหลออกสู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี ในจังหวัดระนอง แม่น้ำพังงา ในจังหวัดพังงา แม่น้ำตรัง ในจังหวัดตรัง คลองละงู ในจังหวัดสตูล นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสาขาไหลกระจัดกระจายทั่วไป
   
สภาพธรณีวิทยา
   
       สภาพทางธรณีวิทยาภาคใต้มีอายุน้อยกว่า 900-2,500 ล้านปีล่วงมาแล้ว ประกอบไปด้วยหินอัคนี (igneous rock) หินชั้นหรือหินตะกอน (sedimentary rock) และหินแปร (metamorphic rock)
   
ภูมิสัณฐาน (Landforms)
   
       ภูมิสัณฐาน (Landforms) เป็นลักษณะภาพภูมิประเทศทั่วๆ ไป ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากขบวนการทางธรณีวิทยา เช่น ที่ราบสูง (plateau) ที่ราบ (plain) แอ่ง (basin) และภูเขา (mountain) เป็นต้น ภูมิสัณฐานของภาคใต้ พอจะจำแนกได้ดังนี้  
   
      1. ภูมิสัณฐานในพื้นที่วัสดุนำพา (Landforms in Transported Materials)
   
           เป็นพื้นที่ที่มีวัสดุต่างชนิดกันถูกเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นโดยตัวการต่างๆ เช่น น้ำ ลม หรือแรงดึงดูดของโลก แล้วมาทับถมกัน ทำให้เกิดภูมิสัณฐานหลายแบบ เช่น

          1) ภูมิสัณฐานในพื้นที่หาดทรายและเนินทราย (Beach and Sand Dune) ระกอบด้วย
                -ภูมิสัณฐานแบบหาดทราย (Beach) เป็นพื้นที่ระหว่างแนวน้ำทะเลขึ้นและน้ำทะเลลง มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของคลื่นและกระแสน้ำทะเล ยังไม่มีพืชพรรณชนิดใดขึ้นปกคลุม มีเนื้อดินเป็นดินทรายและมักมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดิน
                - ภูมิสัณฐานแบบเนินทรายหรือสันทราย (Sand Dune) เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะนูนเป็นโคกเตี้ยๆ และเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ สันทรายใหม่ (Young Sand Dune) มีเนื้อดินเป็นดินทราย และเนินทรายเก่าหรือสันทรายเก่า (Old Sand Dune) มีเนื้อดินเป็นดินทราย หรือบางพื้นที่มีชั้นดานอินทรีย์

          2) ภูมิสัณฐานในพื้นที่น้ำทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active Tidal Flats of Recent Marine and Brackish Water Deposits)ป็นพื้นที่ที่มีน้ำทะเลขึ้นถึงเป็นประจำทุกวัน พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโกงกางหรือป่าชายเลน (mangrove forest) ดินมีสีคล้ำ อินทรียวัตถุสูงและเป็นดินเค็ม (saline soil) ดินส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็นดินกรดกำมะถันหรือเป็นดินเปรี้ยวจัด

          3)ภูมิสัณฐานในพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงในอดีต (Former Tidal Flats of Marine and Brackish Water Deposits)ป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้น้ำทะเลไม่ท่วมถึงแล้ว เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของเปลือกโลก ทำให้เกิดการยกตัวของแผ่นดิน แบ่งตามอายุของตะกอนน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อยได้ 2 ประเภท คือ
                - พวกตะกอนน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อยที่มีอายุน้อย (Former Tidal Flats of Recent Marine and Brackish Water Deposits) ซึ่งมีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินเหนียว ที่มีการพัฒนาชั้นดินยังน้อย มักพบชั้นดินเลนตื้น
               - พวกตะกอนน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อยที่มีอายุแก่กว่า (Former Tidal Flats of Older Marine and Brackish Water Deposits) มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียว ที่มีการพัฒนาชั้นดินไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นดินเปรี้ยวจัดหรือดินเป็นกรดรุนแรงมาก

          4) ภูมิสัณฐานในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงตะกอนน้ำพาจากแม่น้ำ (River Alluvium) เป็นพื้นที่ที่เกิดจากตกตะกอนของตะกอนน้ำพาของแม่น้ำ ลำคลอง บริเวณสองฝั่งลำน้ำ แบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่
                - ภูมิสัณฐานในพื้นที่สันดินริมน้ำใหม่ (Young Levee)
                - ภูมิสัณฐานในพื้นที่สันดินริมน้ำเก่า (Old Levee)

  2. ภูมิสัณฐานในพื้นที่ที่มีการเกลี่ยผิวแผ่นดิน (Denudation Surface)
   
       เป็นพื้นที่ที่มีกระบวนการต่างๆ ตามธรรมชาติมาทำให้เกิดการลดระดับของผิวแผ่นดิน ได้แก่ การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การหลุดของมวลเศษหินและการพัดพา พื้นที่บริเวณนี้อาจเกิดจากการสะสมของตะกอนในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับของทางน้ำจากหุบเขาลงสู่พื้นที่ราบ (Alluvial Fan) หรือเกิดจากตะกอนหรือเศษหินตกจากที่สูงลงไปที่ต่ำตามแรงดึงดูดของโลก (Colluvium) แบ่งตามชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดินได้ 4 พวก ดังนี้
     1) ภูมิสัณฐานในพื้นที่ที่เกิดจากหินเนื้อละเอียด (Fine-grained Classtic Rocks) ประกอบด้วยหินดินดานและหินในกลุ่ม
     2) ภูมิสัณฐานในพื้นที่ที่เกิดจากหินเนื้อหยาบ (Coarse-grained Classtic Rocks) ประกอบด้วยหินทรายและหินในกลุ่ม
     3) ภูมิสัณฐานในพื้นที่ที่เกิดจากหินแกรนิตและหินแปรจากหินแกรนิต (Granitic Terrain)
     4) ภูมิสัณฐานในพื้นที่มีการยกตัวของตะพักลำน้ำ (Uplift Terrace)

   
  3. ภูมิสัณฐานในพื้นที่วัสดุอินทรีย์ (Landform in Organic Materials)
   
       สภาพพื้นที่เป็นแอ่งต่ำที่มีน้ำขังหรือที่ลุ่มน้ำขังระหว่างเนินทรายหรือสันทรายชายฝั่งทะเล พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าบึงหรือป่าพรุ (swamp forest) มีการสะสมเศษชิ้นส่วนของพืชในปริมาณมากและเป็นชั้นหนา ดินชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นตะกอนน้ำทะเลที่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินกรดกำมะถันหรือดินเปรี้ยวจัด
   
  4. ภูมิสัณฐานที่เป็นพื้นที่หินปูน (Limestone Outcrops) หรือภูมิสัณฐานแบบคาสต์ (Karst)
   
       เป็นพื้นที่ภูเขาหินปูนหรือเขาหินปูนโดดๆ พื้นที่ด้านข้างจะมีความลาดชันสูงมากและมักไม่ค่อยมีเนื้อดิน พื้นดินมักเกิดเป็นโพรงใต้ดินและยุบตัวเป็นหลุมลึกและกว้าง อันเนื่องมาจากการละลายของหินปูน เมื่อผิวดินรับน้ำหนักไม่ได้ก็เกิดการยุบตัวของพื้นที่ ทรัพยากรดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวสีแดง
   
  5. ภูมิสัณฐานที่เป็นพื้นที่ภูเขา (Mountain)
   
        เป็นพื้นที่ที่ถูกควบคุมโดยโครงสร้างของชั้นหิน มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เช่น โครงสร้างของหินทราย หินดินดาน หินแกรนิต หินปูนและหินในกลุ่ม
   
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
   
 

     1) พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ลุ่มใช้ทำนาและส่วนใหญ่ปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝน มีส่วนน้อยที่อยู่ในเขตชลประทาน บางพื้นที่มีการยกร่องเพื่อปลูกยางพาราและไม้ผลหรือถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ลุ่มชายฝั่งทะเลใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
     2) พื้นที่ดอน พื้นที่ที่มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาหรือเป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนส่วนใหญ่จะเป็นป่าตามธรรมชาติ แต่มีการบุกรุกเพื่อใช้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟและไม้ผล ส่วนพื้นที่ดอนที่เป็นพื้นที่ราบและมีความลาดชันไม่มากนักจะนำมาใช้ปลูกยางพารา ไม้ผล ปาล์มน้ำมัน กาแฟ มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ พืชไร่ พืชผัก ไม้ยืนต้นและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

   
ทรัพยากรดิน
   
 

     จากการศึกษาทรัพยากรดินภาคใต้จากแผนที่กลุ่มชุดดินสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจระดับจังหวัด มาตราส่วน 1:50,000 กรมพัฒนาที่ดินพบว่ามี 34 กลุ่มชุดดิน ดังนี้

 
       
..............
ดินในพื้นที่ลุ่ม
...................
ดินในพื้นที่ดอน
 
 
 
 
   
แนวทางการจัดการดิน...ตามกลุ่มลักษณะเด่นและสภาพปัญหาหรือข้อจำกัดของดิน
   
 
     จากลักษณะและสมบัติของดินในกลุ่มชุดดินต่างๆ ที่พบแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคใต้สามารถจัดกลุ่มดินใหม่ตามลักษณะเด่น สภาพปัญหาหรือข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร และสภาพพื้นที่ที่พบ ได้เป็น 22 กลุ่ม ดังนี้
 
ดินในพื้นที่ลุ่ม
 
ดินเปรี้ยวจัดระดับลึก พบความเป็นกรดรุนแรงมากในช่วงความลึกมากกว่า 100 ซม.จากผิวดิน
ดินเปรี้ยวจัดระดับลึกปานกลาง พบความเป็นกรดรุนแรงมากในช่วงความลึก 50-100 ซม.จากผิวดิน
ดินเปรี้ยวจัดระดับตื้น พบความเป็นกรดรุนแรงมากในช่วง 0-50 ซม. จากผิวดิน
ดินเหนียวที่มีปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่าง
ดินเหนียวที่มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดจัดมาก
ดินที่มีการยกร่อง
ดินเลนชายทะเลที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำ
ดินทรายแป้งที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ
ดินร่วนที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ
ดินทรายลึกมาก
ดินตื้นที่มีก้อนกรวดหรือลูกรังมากภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน
ดินพรุ หรือดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนามากกว่า 40 ซม.จากผิวดิน
   
ดินในพื้นที่ดอน
 
ดินตื้นที่พบชั้นปูนมาร์ลหรือก้อนปูนภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน พบในพื้นที่ดอน
ดินเหนียวลึกมาก
ดินร่วนริมฝั่งแม่น้ำ
ดินร่วนลึกมาก
ดินทรายที่มีชั้นดานอินทรีย์
ดินทรายหนา
ดินตื้นที่มีลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหินปะปนมากภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน
ดินตื้นที่พบชั้นหินพื้นภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน
ดินลึกปานกลางที่มีลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหินปนอยู่มากในช่วงความลึก 50-100 ซม.จากผิวดิน
พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงมาก
   
 
 
 

ส่วนมาตรฐานการสำรวจจำแนกดินและที่ดิน
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

...สงวนลิขสิทธิ์...