|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชุดดินอยุธยา |
ชุดดินบางเขน |
ชุดดินบางน้ำเปรี้ยว |
ชุดดินมหาโพธิ |
ชุดดินท่าขวาง |
|
|
|
|
|
ลักษณะและสมบัติของดิน |
|
|
ดินเปรี้ยวจัดที่เกิดจากตะกอนผสมของตะกอนลำน้ำและตะกอนทะเล
มักพบในบริเวณพื้นที่ลุ่มภาคกลางหรือพื้นที่ชายฝั่งทะเล
เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด มีการระบายน้ำเลว
ดินบนสีเทาหรือสีเทาเข้ม ดินล่างสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล
สีน้ำตาลปนเหลือง หรือสีแดง มักพบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์
หรือมีชั้นดินที่มีความเป็นกรดรุนแรงมาก (pH น้อยกว่า
4.0) อยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 100-150 ซม.จากผิวดินวางทับอยู่บนชั้นดินเลนสีเทาปนเขียวหรือชั้นตะกอนน้ำทะเลที่มีศักยภาพในการเกิดดินกรดกำมะถัน
มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน ความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับปานกลาง
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้
ได้แก่ ชุดดินอยุธยา (Ay) ชุดดินบางเขน (Bn) ชุดดินบางน้ำเปรี้ยว
(Bp) ชุดดินมหาโพธิ (Ma) และชุดดินท่าขวาง (Tq) |
|
|
|
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
|
|
เนื้อดินเป็นดินเหนียว
หน้าดินแตกระแหงในฤดูแล้ง เป็นข้อจำกัดต่อการปลูกพืชไร่และพืชผัก
ดินเป็นกรดจัดมากและมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดความเป็นกรดเพิ่มขึ้นในชั้นดินล่าง
เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร บางส่วนถูกตรึงอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
คุณภาพน้ำเป็นกรดไม่เหมาะสมต่อการเกษตร
และใช้อุปโภคบริโภค ขาดแคลนแหล่งน้ำจืด มักประสบปัญหาน้ำท่วมขังสูง
ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง |
|
|
|
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
|
ดินในกลุ่มนี้เหมาะสมสำหรับการทำนาในช่วงฤดูฝน
และสามารถพัฒนาพื้นที่เพื่อปลูกพืชไร่และพืชผักที่มีอายุสั้นต่างๆ
บางชนิดได้ในช่วงก่อนและหลังการปลูกข้าวได้ ถ้าหากมีแหล่งน้ำเพียงพอ
หรืออยู่ในเขตชลประทาน
ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชไร่
ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น เนื่องจากมีข้อจำกัดที่รุนแรงจากการที่มีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ปลูกพืชเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการเตรียมพื้นที่และหลุมปลูกที่เหมาะสม
โดยไม่นำดินล่างมาใช้ปลูก และปรับปรุงดินด้วยวัสดุปูน
เพื่อลดความรุนแรงของความเป็นกรดในดิน |
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
|
ปลูกข้าว |
ไถพรวนดินในขณะที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสมที่ระดับความลึกแตกต่างกันไปในแต่ละปี
เพื่อป้องกันการเกิดชั้นดานแข็งใต้ชั้นไถพรวน
ปรับปรุงบำรุงดินด้วยการไถกลบตอซัง
หรือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบ
โดยหว่านเมล็ดพันธุ์โสนอัฟริกันหรือโสนอินเดียอัตรา
4-6 กก./ไร่ แล้วไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยทิ้งไว้
1-2 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืช หรือไถคลุกเคล้าวัสดุปรับปรุงดินอย่างอื่น
เช่น ขี้เลื่อย แกลบ กากน้ำตาล เป็นต้น เพื่อเพิ่มความร่วนซุยในดิน
ลดและควบคุมความเป็นกรดจัดมากของดินโดยหว่านวัสดุปูน
เช่น ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น อัตรา 500 กก./ไร่ ให้ทั่วแปลงปลูกแล้วไถคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ใช้น้ำล้างความเป็นกรดของดินโดยปล่อยน้ำขังในพื้นที่ประมาณ
10 วัน ระบายน้ำออกแล้วขังน้ำใหม่ ทำประมาณ 4-5 ครั้ง
ตลอดฤดูเพาะปลูก
ใช้พันธุ์ข้าวที่แนะนำ
เช่น ขาวตาหยก ไข่มุก สีรวง ลูกเหลือง ขาวดอกมะลิ105
กข 7 กข 13 สุพรรณบุรี 90 หรือเล็บมือนาง เป็นต้น
ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 25-40 กก./ไร่
ในระยะปักดำ และใช้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5-10 กก./ไร่
หลังปักดำ 3545 วัน หรือในระยะที่ข้าวตั้งท้อง
พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่
2 ปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเกี่ยวข้าว
หรือใช้ล้างความเป็นกรดของดินและควบคุมไม่ให้เกิดกรดเพิ่มขึ้นในดิน |
|
ปลูกพืชไร่
พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น |
กรณีปลูกพืชไร่หรือพืชผักในช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าวหรือในช่วงฤดูแล้ง
ควรยกร่องสูงประมาณ 10-20 ซม.ทำร่องระบายน้ำในแปลงห่างกันประมาณ
8-12 เมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง แต่ถ้าจะเปลี่ยนสภาพพื้นที่นาเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร
จำเป็นต้องปรับสภาพพื้นที่โดยการยกร่องแบบถาวร ให้มีสันร่องกว้าง
6-8 เมตร ให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมถึง
มีคูระบายน้ำกว้างประมาณ 1-1.5 เมตร ลึก 0.5-1 เมตร
หรือสร้างคันดินอัดแน่นล้อมรอบพื้นที่
ปรับปรุงบำรุงดินและลดความเป็นกรดในดิน
ด้วยการไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านถั่วพร้าอัตรา 8-10 กก./ไร่
ถั่วพุ่มอัตรา 6-8 กก./ไร่ หรือปอเทืองอัตรา 4-6 กก./ไร่)
แล้วไถกลบก่อนออกดอก ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอกอัตรา
1-2 ตัน/ไร่ ร่วมกับการไถคลุกเคล้าวัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล
หินปูนฝุ่น หรือปูนขาว อัตรา 500 กก./ไร่ ให้ทั่วแปลงปลูกและหว่านในคูน้ำ
ถ้าปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50
ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา
15-25 กก./หลุม ร่วมกับวัสดุปูนอัตรา 5 กก./หลุม
ใส่ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูกร่วมกับการใช้วัสดุปูน
อัตรา 500 กก./ไร่ เมื่อดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น
พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูกพืช
ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ ใช้ล้างความเป็นกรดในดิน
และควบคุมไม่ให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น
|
|
|
|
|
|
|