m9
 ดินทรายแป้งที่เกิดจากตะกอนน้ำ พบในพื้นที่ลุ่ม
( กลุ่มชุดดินที่ 15, 16)
           
ชุดดินหล่มสัก
ชุดดินแม่สาย
ชุดดินแม่ทะ
ชุดดินเกาะใหญ่
ชุดดินตากใบ
   
ลักษณะและสมบัติของดิน
 
 
     ดินร่วนปนทรายแป้งถึงดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ลึกมากที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินบนมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทา ดินล่างสีน้ำตาลหรือสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดงของศิลาแลงอ่อน มีก้อนสารเคมีสะสมของเหล็กและแมงกานีสออกไซด์ การระบายน้ำเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินหล่มสัก (La) ชุดดินแม่สาย (Ms) ชุดดินแม่ทะ (Mta) ชุดดินหินกอง (Hk) ชุดดินเกาะใหญ่ (Koy)

     ชุดดินลำปาง (Lp) ชุดดินพานทอง (Ptg) ชุดดินศรีเทพ (Sri) และชุดดินตากใบ (Ta)
 
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
 
    หน้าดินแน่นทึบ มีการถ่ายเทอากาศไม่ดี เนื่องจากมีคราบดินทรายแป้งตกตะกอนเคลือบอยู่บนผิวหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ในฤดูฝนมักมีน้ำท่วมขังทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำนานในระยะฝนทิ้งช่วง
 
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช
 
 
    ดินในกลุ่มนี้ เหมาะสมสำหรับการทำนามากกว่าการปลูกพืชอื่น เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน แต่มีข้อจำกัดสำหรับการปลูกข้าวบ้าง เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและหน้าดินแน่นทึบ
 
แนวทางการจัดการดิน
 
 
     ปลูกข้าว

      เตรียมพื้นที่ปลูกโดยไถพรวนดินในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสม ปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ไถกลบตอซัง ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือ ก่อนปลูกหว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด เช่นโสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย อัตรา 6-8 ตัน/ไร่ ไกลบก่อนออกดอก 1-2 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช ช่วยให้ดินร่วนซุย และข้าวมีการแตกกอดีขึ้น
     ปักดำด้วยต้นกล้าที่มีจำนวนต้นต่อกอมากกว่าที่ใช้ตามปกติ ถ้าดินเป็นกรดจัดมาก ควรหว่านวัสดุปูน อัตรา 200-300 กก./ไร่ ไถคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทิ้งไว้ 15 วันก่อนปลูก
     ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 ร่วมกับปุ๋ยเคมี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 20-35 กก./ไร่ หรือ 16-20-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 30 กก./ไร่ ใส่รองพื้นก่อนปักดำหรือวันปักดำแล้วคราดกลบ ครั้งที่ 2 แต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10-30 กก./ไร่ หลังปลูก 35-45 วัน หรือระยะที่ข้าวกำลังตั้งท้อง
     ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 20-35 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 5-10 กก./ไร่ ในระยะปักดำ ครั้งที่ 2 แต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรียอัตรา 10-15 กก./ไร่
     พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำ หรือใช้ทำนาครั้งที่ 2 ปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว
 
     ปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น

     กรณีปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือหลังจากปลูกข้าว ควรปรับสภาพพื้นที่โดยยกร่องแบบเตี้ยหรือทำร่องระบายน้ำระหว่างแปลงเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในฤดูฝน หรือถ้าต้องการเปลี่ยนจากสภาพพื้นที่นามาปลูกพืชไร่อย่างถาวร ควรสร้างคันดินอัดแน่นล้อมรอบพื้นที่ ยกร่องแบบถาวรให้มีสันร่องกว้าง 6-8 เมตร โดยให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมถึง มีคูระบายน้ำกว้าง 1-1.5 เมตร ลึก 0.5-1 เมตร
ปรับปรุงบำรุงดินด้วยการไถกลบพืชปุ๋ยสด ปอเทืองอัตรา 4-6 กก./ไร่ ถั่วพุ่มอัตรา 6-8 กก./ไร่ หรือถั่วพร้าอัตรา 8-10 กก./ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วันหลังปลูกหรือออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ หรือไถกลบปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกอัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ ในพื้นที่ที่ดินเป็นกรดจัดมาก ใช้วัสดุปูน 200-300 กก./ไร่ หรือ 0.5-1.0 กก./หลุม เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน
ถ้าปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ควรขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. และปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 15-25 กก./หลุม
ใส่ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำพด.2 และผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด. 3 พด.7 ร่วมกับการใช้วัสดุปูนถ้าดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น
พัฒนาแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ
 
 
     

ส่วนมาตรฐานการสำรวจจำแนกดินและที่ดิน
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
...สงวนลิขสิทธิ์...