|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชุดดินท่าจีน |
ชุดดินบางปะกง |
ชุดดินตะกั่วทุ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
ลักษณะและสมบัติของดิน |
|
|
ดินเค็มที่พบในบริเวณชายฝั่งทะเล
ชะวากทะเล หรือที่ราบปากแม่น้ำ ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำทำให้มีการสะสมเกลือมาก
ไม่สามารถใช้ปลูกพืชได้ เป็นดินลึก ดินบนมีสีดำหรือเทา
เนื้อดินเป็นพวกดินทรายแป้ง ดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง
มีการระบายน้ำเลวมาก ดินล่างเป็นดินเลนสีเทาแก่หรือสีเทาปนน้ำเงิน
อาจพบเปลือกหอยปะปน ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างจัด
มีความอุดมสมบูรณ์สูง
ในบางบริเวณชั้นดินเลนนี้อาจจะมีสารประกอบกำมะถันอยู่มาก
ทำให้ดินมีศักยภาพที่จะเกิดเป็นดินกรดกำมะถันเมื่อมีการระบายน้ำออก
โดยทั่วไปในสภาพดินเปียกค่าปฏิกิริยาดินจะเป็นกลางหรือเป็นด่างจัด
แต่เมื่อทำให้ดินแห้งค่าปฏิกิริยาดินจะลดลงจนเป็นกรดรุนแรงมาก
จึงเรียกดินลักษณะนี้ว่าเป็นดินเค็มที่มีกรดแฝงอยู่
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้
ได้แก่ ชุดดินท่าจีน (Tc) ชุดดินบางปะกง (Bpg) และชุดดินตะกั่วทุ่ง
(Tkt)
|
|
|
|
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
|
|
ดินเค็มจัดมาก
มีเกลือสูงและมีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำวัน บางแห่งเป็นดินเค็มที่มีกรดแฝง
เมื่อดินเปียกจะเค็มและเมื่อดินแห้งจะเป็นกรดจัดมาก
และลักษณะที่ดินเป็นดินเลนทำให้ต้นพืชล้มได้ง่าย |
|
|
|
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
|
โดยสภาพเดิม
ถือว่าเป็นดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชทุกชนิด
เนื่องจากมีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำ ดินเค็มจัด มีเกลือสะสมในปริมาณมากจนเป็นอันตรายต่อพืช
หรืออาจเกิดเป็นดินเปรี้ยวจัดเมื่ออยู่ในสภาพแห้ง
การระบายน้ำของดินเลวมาก และมีสภาพเป็นดินเลน ต้นพืชล้มได้ง่าย
บางพื้นที่สามารถใช้ทำนาเกลือและเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งควรสงวนไว้
และฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน |
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
|
ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรทุกประเภท ในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมควรปลูกป่าชายเลน
ส่วนในพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลน ควรสงวนไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำและที่อาศัยอยู่ในป่า
นอกจากนี้ป่าชายเลนยังช่วยเป็นแนวป้องกันการชะล้างพังทลายของแผ่นดินจากการกระทำของลมและคลื่นทะเล
และกรองของเสียก่อนออกสู่ท้องทะเล |
|
|
|
|
|
|