|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชุดดินพะโต๊ะ |
ชุดดินสวี
|
ชุดดินปะดังเบซาร์
|
ชุดดินโอลำเจียก |
ชุดดินตราด |
|
|
|
|
|
ลักษณะและสมบัติของดิน |
|
|
ดินลึกปานกลางที่มีชั้นลูกรัง
ก้อนกรวด หรือเศษหินปริมาณมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร
อยู่ในช่วงความลึก 50-100 ซม.จากผิวดิน พบในเขตที่มีฝนตกชุก
สภาพพื้นทีค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนชัน
ดินบนมีสีน้ำตาล เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย
ดินล่างมีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดง มีก้อนกรวดเศษหินหรือลูกรังปะปนอยู่
มีการระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้
ได้แก่ ชุดดินพะโต๊ะ (Pto) ชุดดินสวี (Sw) ชุดดินนาทอน
(Ntn) ชุดดินโอลำเจียก (Oc) ชุดดินปะดังเบซาร์ (Pad)
ชุดดินตราด (Td) และชุดดินตรัง (Tng)
|
|
|
|
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
|
|
เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย
ดินลึกปานกลาง มีชั้นลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหินปนอยู่มาก
เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชที่มีระบบรากลึก
ความสามารถในการอุ้มน้ำและดูดซับธาตุอาหารต่ำ
ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ พืชเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน
ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงจะเกิดการชะล้างทลายสูญเสียหน้าดินค่อนข้างสูง
ทำให้เกิดเป็นดินตื้นและยากต่อการปรับปรุงแก้ไข
|
|
|
|
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
|
ดินในกลุ่มนี้เหมาะสมในการปลูกพืชไร่
ไม้ผล ไม้ยืนต้น และพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
แต่มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
และมีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินตื้น ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง |
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
|
การปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก |
ไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่
ควรมีการจัดระบบการปลูกพืชให้หมุนเวียนตลอดทั้งปี
มีการปลูกพืชบำรุงดินร่วมอยู่ด้วย ร่วมกับการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา
2-3 ตัน/ไร่ ปลูกพืชสดแล้วไถกลบเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
โดยหว่านเมล็ดถั่วพร้าอัตรา 8-10 กก./ไร่ เมล็ดถั่วพุ่มอัตรา
6-8 กก./ไร่ หรือปอเทืองอัตรา 4-6 กก./ไร่ ไถกลบระยะออกดอก
ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก
ใส่ปุ๋ยเคมีให้เหมาะสมตามชนิดพืชที่ปลูก
ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 และผลิตภัณฑ์สารเร่ง
พด.3 และ พด.7
มีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ
โดยวิธีกล และวิธีพืช ที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ เช่น
การสร้างคันดิน ทำแนวรั้วหญ้าแฝก การปลูกพืชปุ๋ยสด
การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกสลับเป็นแถบ เป็นต้น (ตารางผนวกที่
3.1-3.4)
พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการชลประทานและระบบการให้น้ำในพื้นที่ปลูก
|
|
การปลูกไม้ผล
หรือไม้ยืนต้น |
หลุมปลูกควรมีขนาดอย่างน้อย
50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา
20-35 กก./หลุม ร่วมกับร็อคฟอสเฟตอัตรา 170 250 และ
500 กรัม/หลุม สำหรับยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล
ตามลำดับ เพื่อช่วยเร่งการเจริญของรากให้แข็งแรง มีไม้ค้ำยันต้นพืชเพื่อไม่ให้โยก
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
พด. 2 และปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสมตามชนิดพืชที่ปลูก
มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมตามสภาพความลาดชันของพื้นที่
เช่น ปลูกพืชปุ๋ยสด ปลูกพืชคลุมดิน วัสดุคลุมดิน ปลูกพืชแซม
สร้างคันดิน การทำขั้นบันได การทำคูรับน้ำขอบเขา ทำแนวรั้วหญ้าแฝก
การทำฐานเฉพาะต้น เป็นต้น (ตารางผนวกที่ 3.1-3.4)
|
|
|
|
|
|
|