|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชุดดินดอนเมือง |
ชุดดินรังสิต |
ชุดดินเสนา |
ชุดดินธัญบุรี |
ชุดดินต้นไทร |
ชุดดินระแงะ |
|
|
|
|
ลักษณะและสมบัติของดิน |
|
|
ดินเปรี้ยวจัดที่เกิดจากตะกอนผสมของตะกอนลำน้ำและตะกอนทะเล
มักพบในบริเวณพื้นที่ลุ่มภาคกลางหรือพื้นที่ราบตามชายฝั่งทะเล
เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด มีการระบายน้ำเลว
ดินบนสีดำหรือสีเทา ดินล่างสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล
สีน้ำตาลปนเหลือง หรือสีแดง มักพบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์
หรือมีชั้นดินที่ความเป็นกรดรุนแรง (pH น้อยกว่า 4.0)
อยู่ที่ระดับลึกประมาณ 50-100 ซม.จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด
มักมีน้ำท่วมขังในฤดูฝนนาน 3-5 เดือน ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้
ได้แก่ ชุดดินดอนเมือง (Dm) ชุดดินรังสิต (Rs) ชุดดินเสนา
(Se) และชุดดินธัญบุรี (Tan) ชุดดินปัตตานี (Pti)
ชุดดินระแงะ (Ra) และชุดดินต้นไทร (Ts)
|
|
|
|
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
|
|
ดินเป็นกรดรุนแรงมากในช่วงความลึก
50-100 ซม.จากผิวดินทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร
หรือถูกตรึงอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เช่น ขาดธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม
เกิดความเป็นพิษของเหล็กและอะลูมินัม
คุณภาพน้ำในพื้นที่เป็นกรดจัดมากและมีรสฝาด
ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรและใช้อุปโภคบริโภค และขาดแคลนแหล่งน้ำจืด
ในฤดูฝนมักมีน้ำแช่ขังทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง
|
|
|
|
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
|
ดินในกลุ่มนี้เหมาะสมสำหรับการทำนามากกว่าปลูกพืชอื่น
แต่มีข้อจำกัดปานกลางที่ดินเป็นดินเปรี้ยวจัด มีความเป็นกรดรุนแรงมากในช่วงความลึก
50-100 ซม.จากผิวดิน ทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ
สภาพโดยทั่วไปไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชไร่ ไม้ผล
หรือไม้ยืนต้น เนื่องจากมีข้อจำกัดที่รุนแรงจากการที่มีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
และความเป็นกรดของดิน |
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
|
ปลูกข้าว |
เลือกระยะเวลาไถพรวนเตรียมดินในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสม
เพื่อป้องกันดินติดเครื่องจักรกล และควรไถพรวนที่ความลึกแตกต่างกันไปในแต่ละฤดูปลูก
เพื่อป้องกันการเกิดชั้นดานแข็งใต้ชั้นไถพรวน
ปรับปรุงบำรุงดินด้วยการไถกลบตอซัง
หรือไถคลุกเคล้าปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก
อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ปล่อยไว้ 3-4 สัปดาห์ ก่อนปลูก
หรือหว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด โสนอัฟริกันหรือโสนอินเดียอัตรา
4-6 กก./ไร่ แล้วไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้
1-2 สัปดาห์ แล้วปลูกข้าว
ลดและควบคุมความเป็นกรดจัดมากของดินด้วยวัสดุปูน
เช่น ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น ในอัตรา 500-1,000 กก./ไร่
โดยหว่านให้ทั่วแปลงปลูก ร่วมกับการใช้น้ำล้างความเป็นกรด
(ในกรณีที่มีน้ำมากพอ) โดยปล่อยน้ำขังในนาแล้วถ่ายออกหลายๆ
ครั้ง
ครั้งที่ 1 หลังไถดะ
ปล่อยน้ำแช่ขัง 7-10 วัน แล้วถ่ายออก
ครั้งที่ 2 หลังไถแปร
ปล่อยน้ำแช่ขัง 10 วัน แล้วถ่ายออก
ครั้งที่ 3 หลังปักดำ
ปล่อยน้ำแช่ขัง 2 สัปดาห์ แล้วถ่ายออก ต่อจากนั้นถ่ายน้ำ
4-5 สัปดาห์/ครั้ง จนข้าวตั้งท้อง
ใช้พันธุ์ข้าวแนะนำ
เช่น แก่นจันทร์ ขาวลูกแดง ช้องนางเอื้อง ขาวดอกมะลิ
105 กข 21 กข 23 หรือสุพรรณบุรี 90 เป็นต้น
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
พด. 2 ร่วมกับการใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8
อัตรา 25-40 กก./ไร่ ในระยะปักดำ และใส่ปุ๋ยยูเรีย
อัตรา 5-10 กก./ไร่ หลังปักดำ 35-45 วัน
พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่
2 ปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเกี่ยวข้าว
ใช้ล้างความเป็นกรดของดิน และควบคุมความเป็นกรดของดินไม่ให้เพิ่มขึ้น
|
|
ปลูกพืชไร่
พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น |
ถ้าจะเปลี่ยนจากพื้นที่นาข้าวมาปลูกพืชไร่แบบถาวร
ต้องปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในฤดูฝนโดยการยกร่องแบบถาวร
ให้มีสันร่องกว้าง 6-8 เมตร ตามชนิดพืชที่จะปลูก สันร่องควรอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมถึง
มีคูระบายน้ำกว้าง 1-1.5 เมตร ลึก 0.5-1 เมตร หรือสร้างคันดินอัดแน่นล้อมรอบ
(กรณีปลูกพืชไร่พืชผักเฉพาะช่วงก่อนหรือหลังปลูกข้าว
ใช้วิธีการยกร่องแบบเตี้ย ความสูงประมาณ 10-20 ซม.
เพื่อป้องกันน้ำแช่ขัง หรือทำร่องระบายน้ำระหว่างแปลง)
ปรับปรุงดินด้วยการไถกลบตอซัง
หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด โดยหว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด
เช่นปอเทือง อัตรา 6-8 กก./ไร่ หรือถั่วพุ่ม อัตรา
8-10 กก./ไร่ หรือถั่วพร้าอัตรา 10-12 กก./ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ
50-70 วันหลังปลูกหรือออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ ปล่อยทิ้งไว้
1-2 สัปดาห์ ร่วมกับการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอกอัตรา
2-3 ตัน/ไร่ และวัสดุปูน อัตรา 500-1,000 กก./ไร่
ก่อนปลูกพืช
ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. และปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา
25-50 กก./หลุม ร่วมกับวัสดุปูนอัตรา 6 กก./หลุม เพื่อเพิ่มความร่วนซุย
และความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน
ใส่ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก
ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำพด.2 และผลิตภัณฑ์สารเร่ง
พด. 3 พด.7 ร่วมกับการใช้วัสดุปูนถ้าดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น
พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูกพืช
ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ ใช้ล้างความเป็นกรดในดิน
และควบคุมไม่ให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น
|
|
|
|
|
|
|