|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชุดดินดำเนินสะดวก |
ชุดดินสมุทรสงคราม |
|
|
|
|
|
|
|
|
ลักษณะและสมบัติของดิน |
|
|
ดินยกร่องที่เกิดจากการดัดแปลงพื้นที่ลุ่มทำนามาใช้ปลูกพืชไร่
พืชผักหรือไม้ผล มีการยกร่องและทำคันดินอัดแน่นล้อมรอบ
เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกน้ำท่วมหรือน้ำไหลบ่าท่วมขังในฤดูฝน
ลักษณะและสมบัติของดินจึงไม่แน่นอน แต่จะมีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ
อันเนื่องมาจากการยกร่อง และการขุดลอกร่องคูน้ำอยู่เป็นประจำ
ดินในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำถึงสูง
ขึ้นอยู่กับการจัดการของเกษตรกรและมีระดับน้ำใต้ดินตื้น
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้
ได้แก่ ชุดดินดำเนินสะดวก (Dn) ชุดดินสมุทรสงคราม
(Sso) และชุดดินธนบุรี (Tb) |
|
|
|
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
|
|
สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มต่ำที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้นหรืออยู่ใกล้ผิวดิน
มีความเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อผลผลิต
ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และอาจจะมีปัญหาอื่น ๆ
ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เป็นดินเปรี้ยวจัด
หรือดินเค็ม เป็นต้น |
|
|
|
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
|
ดินในกลุ่มนี้
โดยทั่วไปเหมาะสมสำหรับปลูกพืชตลอดปี เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ซึ่งได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงด้านป้องกันน้ำท่วม
และการระบายน้ำของดินเรียบร้อยแล้ว โดยเกษตรกรดำเนินการยกร่องและปรับปรุงให้ดีขึ้นจนแตกต่างไปจากสภาพธรรมชาติเดิมอย่างสิ้นเชิง |
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
|
ในพื้นที่มีการยกร่องใหม่ |
ควรมีวิธีการยกร่องที่ถูกต้อง
ไม่ควรนำดินชั้นล่างขึ้นมาไว้ข้างบน เนื่องจากดินมีโครงสร้างไม่ดี
และมีอินทรียวัตถุต่ำมาก
ยกร่องให้มีสันร่องกว้าง
6-8 เมตร ร่องคูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0
เมตร มีระบบควบคุมน้ำในร่องแปลงปลูกไม่ให้อยู่ตื้นเกินไปหรืออยู่ใกล้ผิวดินและป้องกันน้ำท่วม
ขุดหลุมปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
ขนาด 50x50x50 ซม. หรือ 75x75x75 ซม. พร้อมปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมัก
หรือปุ๋ยคอก อัตรา 15-50 กก./หลุม ขึ้นอยู่สภาพปัญหาของดิน
(ดูจากพื้นที่ใกล้เคียง) หรือหว่านพืชปุ๋ยสด ถั่วพร้าอัตรา
8-12 กก./ไร่ ถั่วพุ่มอัตรา 6-10 กก./ไร่ หรือปอเทืองอัตรา
4-8 กก./ไร่ ไถกลบก่อนออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์
ก่อนปลูก
ภายหลังเก็บผลผลิต
มีการใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก
พัฒนาแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ
|
|
ในพื้นที่ยกร่องที่ทำการเกษตรมานานแล้ว |
ควรขุดลอกคลองอยู่เป็นประจำ
ตะกอนที่นำขึ้นมา ควรกองไว้ระหว่างต้นและนำไปแปรสภาพและปรับปรุงก่อนที่จะนำไปใช้
ควบคุมระดับน้ำในท้องร่องให้คงที่
เพื่อป้องกันการเน่าเสียของน้ำ
ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูกภายหลังเก็บผลผลิต
แก้ไขปัญหาของดิน เช่น
กรณีดินเป็นกรด ควรปรับปรุงดินด้วยการหว่านวัสดุปูนบนสันร่อง
และร่องน้ำ ในอัตรา 0.5-1.0 ตัน/ไร่ หรือใส่อัตรา
5 กก./หลุม หรือ ถ้าเป็นดินเค็ม ใช้ยิปซัมคลุกลงในดิน
และใช้น้ำล้าง เป็นต้น
|
|
|
|
|
|
|