|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชุดดินชุมพร
|
ชุดดินหาดใหญ่
|
ชุดดินคลองชาก |
ชุดดินหนองคล้า
|
ชุดดินยะลา
|
|
|
|
|
|
ลักษณะและสมบัติของดิน |
|
|
ดินตื้นที่มีชั้นลูกรังหรือก้อนกรวดมากกว่าร้อยละ
35 โดยปริมาตร เกิดจากตะกอนน้ำหรือเกิดอยู่กับที่
และไม่พบชั้นหินพื้นแข็งภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน
พบในสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนชัน
พบในเขตที่มีฝนตกชุก เนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินเหนียวปนก้อนกรวดมาก
และอาจพบก้อนกรวด ก้อนหิน หรือลูกรังกระจัดกระจายอยู่บนผิวหน้าดิน
มีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดง การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้
ได้แก่ ชุดดินชุมพร (Cp) ชุดดินหาดใหญ่ (Hy) ชุดดินคลองชาก
(Kc) ชุดดินเขาขาด (Kkt) ชุดดินหนองคล้า (Nok) ชุดดินท่าฉาง
(Tac) และชุดดินยะลา (Ya)
|
|
|
|
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
|
|
ดินตื้น
มีชั้นลูกรังหรือก้อนกรวดปะปนในเนื้อดินมาก บางแห่งมีก้อนหิน
ก้อนกรวด หรือลูกรังกระจัดกระจายทั่วไปอยู่บริเวณผิวหน้าดิน
เป็นอุปสรรคต่อการไถพรวน และการชอนไชของรากพืช
ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
ความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ
และในพื้นที่ที่มีความลาดชันจะเกิดการชะล้างทลายสูญเสียหน้าดินได้ง่าย
|
|
|
|
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
|
ดินในกลุ่มนี้ไม่เหมาะสมในการทำนา
เนื่องจากมีสภาพพื้นที่สูงยากต่อการกักเก็บน้ำ
ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชไร่
หรือไม้ผลทั่วไป เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นเนินเขา
และดินมีชั้นก้อนกรวดหรือชั้นลูกรังภายในระดับความลึก
50 ซม. ซึ่งขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช แต่อาจใช้ปลูกยางพารา
มะม่วงหิมพานต์ สับปะรด และพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้
|
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
|
ในพื้นที่ที่หน้าดินมีเศษหิน
ก้อนหินหรือลูกรัง ปริมาณมาก พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงมากหรือพื้นที่ที่เป็นป่า
ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นพื้นที่ป่า
สำหรับพื้นที่ทิ้งร้าง ควรปลูกไม้ใช้สอยโตเร็วหรือฟื้นสภาพป่าให้กลับคืนมา
|
|
การปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก |
ควรเลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหน้ามากกว่า 25 ซม. ในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
จัดระบบการปลูกพืชให้หมุนเวียนตลอดทั้งปี
โดยมีการปลูกพืชบำรุงดินร่วมอยู่ด้วย
ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา
3-4 ตัน/ไร่ หรือหว่านเมล็ดถั่วพร้าอัตรา 10-12 กก./ไร่
เมล็ดถั่วพุ่มอัตรา 8-10 กก./ไร่ หรือปอเทืองอัตรา
6-8 กก./ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์
ก่อนปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก ปรับปรุงสภาพดินที่เป็นกรดจัดด้วยการใช้วัสดุปูนตามอัตราที่เหมาะสม
พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
ควรมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม เช่น
ปลูกพืชปุ๋ยสด ปลูกพืชคลุมดิน วัสดุคลุมดิน ปลูกพืชแซม
สร้างคันดิน การทำขั้นบันได การทำคูรับน้ำขอบเขา ทำแนวรั้วหญ้าแฝก
การทำฐานเฉพาะต้น
สำหรับสภาพพื้นที่ที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นลูกคลื่นลอนชัน
ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผัก
|
|
การปลูกไม้ผล
หรือไม้ยืนต้น |
ขุดหลุมปลูกขนาด
75x75x75 ซม.
ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดินที่ไม่มีเศษหินหรือลูกรังร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา
25-50 กก./หลุม
บริเวณที่มีความลาดชันมาก ควรจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ใช้วัสดุคลุมดิน ปลูกพืชแซม สร้างคันดิน
การทำขั้นบันได การทำคูรับน้ำขอบเขา ทำแนวรั้วหญ้าแฝก
การทำฐานเฉพาะต้น
ใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก
ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.3 และ
พด.7
พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในพื้นที่ปลูก
|
|
|
|
|
|
|