|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชุดดินลำแก่น |
ชุดดินรือเสาะ |
ชุดดินตาขุน |
....................... |
..................... |
|
|
|
|
|
ลักษณะและสมบัติของดิน |
|
|
ดินร่วนลึกมากที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำบนบริเวณสองฝั่งริมแม่น้ำในฤดูน้ำหลาก
พบในเขตที่มีฝนตกชุก มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด
เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
บางแห่งมีชั้นดินทรายละเอียดสลับอยู่ สีดินเป็นสีน้ำตาล
หรือสีเหลืองปนน้ำตาล อาจมีจุดประสีเหลืองหรือสีเทาในชั้นดินล่าง
การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้
ได้แก่ ชุดดินลำแก่น (Lam) ชุดดินรือเสาะ (Ro) และชุดดินตาขุน
(Tkn)
|
|
|
|
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
|
|
ปกติไม่ค่อยมีปัญหา
แต่อาจมีน้ำท่วมขังหรือไหลบ่าท่วมขังอย่างฉลับพลันในระยะที่มีฝนตกหนัก
และขาดแคลนน้ำในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน |
|
|
|
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
|
ดินในกลุ่มนี้เหมาะสมในการทำสวนไม้ผล
กาแฟ พืชผัก ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ยืนต้น และทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
แต่อาจมีปัญหาบ้างเกี่ยวกับน้ำไหลบ่าท่วมขังในฤดูฝนถ้าอยู่ใกล้ทางน้ำ |
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
|
การปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก |
ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 2-3 ตัน/ไร่
หรือหว่านเมล็ดถั่วพร้าอัตรา 8-10 กก./ไร่ เมล็ดถั่วพุ่มอัตรา
6-8 กก./ไร่ หรือปอเทือง อัตรา 4-6 กก./ไร่ ไถกลบระยะออกดอก
ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืชไร่ หรือพืชผักเพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืชบางอย่างร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชปลูก
จัดระบบการชลประทานและระบบการให้น้ำในพื้นที่ปลูก
|
|
การปลูกไม้ผล
หรือไม้ยืนต้น |
ขุดหลุมปลูกขนาด
50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา
20-35 กก./หลุม เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน ใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก
ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ พด. 2 และผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.3
และ พด.7
มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่
เช่น ปลูกพืชปุ๋ยสด ปลูกพืชคลุมดิน วัสดุคลุมดิน ปลูกพืชแซม
ทำแนวรั้วหญ้าแฝก เป็นต้น
จัดระบบการชลประทานและระบบการให้น้ำในพื้นที่ปลูก
|
|
|
|
|
|
|