|
|
|
|
|
|
|
|
................................ |
.................................. |
............................. |
|
ชุดดินบึงชะนัง |
ชุดดินตาคลี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ลักษณะและสมบัติของดิน |
|
|
ดินที่มีชั้นปูนมาร์ลหรือก้อนปูนอยู่ตื้นถึงตื้นมาก
ภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดินบน พบในสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นเนินเขา
เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวทับอยู่บนชั้นปูนมาร์ล
ดินบนมีสีดำหรือสีน้ำตาล ดินล่างมีสีน้ำตาล หรือสีแดง
การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง
ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างปานกลาง
ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้
ได้แก่ ชุดดินบึงชะนัง (Bng) และชุดดินตาคลี (Tk)
|
|
|
|
สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
|
|
เป็นดินตื้น
มีชั้นปูนมาร์ลหรือก้อนปูนอยู่ตื้นถึงตื้นมาก ไถพรวนยาก
ดินเป็นด่างจัด ทำให้ธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก
แมงกานีส สังกะสีและโบรอนถูกตรึงไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช
เมื่อดินแห้งจะแข็ง เมื่อเปียกจะเหนียว กรณีที่พบชั้นปูนมาร์ลลึกกว่า
25 ซม. หากนำมาใช้ปลูกพืชไร่ ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมีน้อย
แต่ถ้าพบชั้นปูนมาร์ล ตื้นกว่า 25 ซม.จะมีปัญหาเรื่องการไถพรวน
เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำนาน
|
|
|
|
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
|
ดินในกลุ่มนี้เหมาะสมดีในการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
ปลูกพืชไร่และพืชผักหลายชนิด ถึงแม้จะเป็นดินตื้นแต่มีหน้าดินหนากว่า
15 ซม. ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง และสมบัติทางกายภาพส่วนใหญ่ดี
ไม่ค่อยเหมาะสมในการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
เนื่องจากพบชั้นปูนและชั้นมาร์ลอยู่ตื้น
ไม่เหมาะสมสำหรับการทำนา เพราะเป็นที่ดอนมีสภาพพื้นที่ค่อนข้างสูง
การระบายน้ำดี ยากต่อการกักเก็บน้ำ
|
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
|
การปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก |
เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนากว่า
15 ซม. ไม่มีก้อนปูนหรือเศษหินปะปนอยู่มาก ไถพรวนดินในขณะที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม
โดยไถให้ลึกกว่า 15 ซม. พร้อมใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ เพื่อช่วยให้ดินร่วนซุยยิ่งขึ้น
หรือปลูกพืชปุ๋ยสด โดยหว่านเมล็ดถั่วพร้าอัตรา 8-10
กก./ไร่ เมล็ดถั่วพุ่มอัตรา 6-8 กก./ไร่ หรือปอเทืองอัตรา
4-6 กก./ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์
ก่อนปลูก
เลือกชนิดพืชที่ชอบดินเป็นด่าง
และมีระบบรากตื้น เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มาปลูก ใช้วัสดุคลุมดิน
เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า ตอซังข้าวโพด หรือวัสดุอย่างอื่นคลุมดิน
เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน และเมื่อวัสดุเหล่านี้สลายตัวจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชอีกทางหนึ่ง
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
พด. 2 ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสมตามชนิดพืชที่ปลูก
บริเวณที่ลาดชัน ควรมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่
เช่น ไถพรวนขวางความลาดชัน ปลูกพืชเป็นแถบ ปลูกพืชคลุมดิน
หรือปลูกพืชตระกูลถั่วแซมระหว่างแถวพืชหลัก ทำคันดินร่วมกับปลูกหญ้าแฝก
การไถพรวนตามแนวระดับ หรือทำแนวรั้วหญ้าแฝก
พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในพื้นที่ปลูก
|
|
การปลูกไม้ผล
หรือไม้ยืนต้น |
ขุดหลุมปลูกขนาด
50x50x50 ซม. หรือถึงชั้นมาร์ล
ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
อัตรา 15-25 กก./หลุม
ใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก
ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ พด. 2 และผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.3
และ พด.7
มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่
เช่น ไถพรวนขวางความลาดชัน ปลูกพืชเป็นแถบ ปลูกพืชคลุมดิน
ทำคันดินร่วมกับปลูกหญ้าแฝก ทำแนวรั้วหญ้าแฝก
พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในพื้นที่ปลูก
|
|
|
|
|
|
|