ดินปนกรวด
ดินเปรี้ยว
ดินมีชั้นดาน
ดินเค็ม
 
  รู้จักอาการของโรคที่เกิดภายหลัง
 
    โรคที่เกิดภายหลัง
 
 
       โรคที่เกิดภายหลัง นั้น เป็นโรคที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่เริ่มแรกของการใช้ที่ดิน แต่เกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินของมนุษย์ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมของดินเปลี่ยนไป หรืออาจเกิดจากความประมาทของมนุษย์ หรือจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ในการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์ ทำให้ดินป่วยเป็นโรค คือแสดงอาการที่ทำให้มีอุปสรรคต่อการเพาะปลูกหรือการเจริญเติบโตของพืช โรคที่เกิดภายหลังนี้หลายโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ แต่บางโรคเมื่อเป็นถึงขั้นรุนแรงก็จะรักษาให้หายขาดไม่ได้ สาเหตุของการเกิดโรคนั้นค่อนข้างชัดเจนว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์ แต่การเกิดโรคแต่ละโรคนั้นอาจจะมาได้หลายสาเหตุ หรืออาจจะมีสาเหตุมาจากโรคที่เป็นแต่กำเนิดเป็นทุนอยู่แล้วก็เป็นได้ ฉะนั้นในบางครั้งจึงไม่อาจจะระบุสาเหตุที่แน่นอนลงไปได้ โรคที่เกิดภายหลังที่สำคัญได้แก่


 
โรคที่เกิดภายหลัง ที่สำคัญ ได้แก่
   
 
ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่มีธาตุอาหารน้อยไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช
ดินแน่นทึบ ดินที่มีหน้าดินแน่นทึบ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของรากหาอาหาร
ดินดาน ดินที่มีชั้นดินดานแน่นทึบ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการหยั่งรากของพืช
ดินปนกรวด ดินที่มีกรวดปะปนมากในเนื้อดิน เนื่องจากเกิดการชะล้างพังทลายของดิน
ดินตื้น ดินที่ชั้นจำกัดรากพืชอยู่ตื้นขึ้น เนื่องจากเกิดการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง
ดินกรด ดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 4.5-5.0 ในชั้นหน้าดิน เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่องยาวนาน
ดินเปรี้ยว ดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำกว่า 4.5 เนื่องจากการใช้ที่ดินโดยประมาทในเขตใกล้ชายฝั่งทะเล
ดินเค็ม ดินที่มีเกลือละลายได้อยู่สูง โดยเป็นภายหลังจากการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยประมาท
     
   
   
   
   
 
 
 
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::