..
รู้จักอาการและการดูแลรักษา (โรคที่เกิดภายหลัง)
  
ดินปนกรวด
   
สาเหตุของโรค
 
การชะล้างพังทลายของดิน หรือกร่อนของดินโดยสูญเสียหน้าดินไปกับน้ำ เหลือเพียงดินชั้นล่างที่มีกรวดปะปนอยู่
การชะล้างพังทลายของดิน หรือกร่อนของดินโดยสูญเสียหน้าดินไปกับน้ำ จนถึงชั้นที่มีศิลาแลงอ่อนอยู่ และทำให้ศิลาแลงอ่อนสัมผัสอากาศแข็งตัวเป็นเม็ดลูกรัง
   
   
ลักษณะของโรค
 
พบในพื้นที่มีความลาดชันสูง
พบลูกรัง เศษหิน หรือหินกรวดท้องน้ำ ปะปนอยู่ในดินจำนวนมาก ภายหลังจากที่สูญเสียหน้าดิน
   
   
อาการป่วย
 
มีปริมาณเนื้อดินน้อยลง ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินลดลง
กรวดชนิดต่างๆ ในดินเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช
ลักษณะของดินเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวน
หน้าดินถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย
   
   
   
 
การดูแลรักษาเบื้องต้น
 
มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมเพื่อลดความรุนแรงของการกร่อนดิน เช่น การปลูกพืชคลุมดิน ทำการปลูกพืชแบบขั้นบันใด การปลูกแฝกเป็นแนวระดับเพื่อดักตะกอนดิน เป็นต้น
เปลี่ยนชนิดพืชปลูกเป็นไม้ยืนต้น เพื่อลดการไถพรวนดิน และลดการกร่อนของดิน
ลดการไถพรวนดินหรือระวังการไถพรวนไม่ให้ชั้นกรวดด้านล่างโผล่ขึ้นมาบนผิวดิน
ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดิน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ และดูดซับธาตุอาหาร
การใช้ปุ๋ยพืชสดทำให้ต้องมีการไถกลบ จึงควรทำเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
ใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสมตามชนิดของพืช และต้นทุนธาตุอาหารในดิน
รักษาความชื้นในดินโดยการใช้วัสดุคลุมดิน
หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบตามร่อง และเลือกการให้น้ำแบบพ่นฝอยหรือน้ำหยดแทน
   
   
   
   
 
..
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::