..
รู้จักอาการและการดูแลรักษา (โรคที่เกิดภายหลัง)
  
ดินเปรี้ยว
   
สีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์
สาเหตุของโรค
 
การใช้พื้นที่ที่มี โรคดินมีกรดแฝง อย่างไม่ระมัดระวัง ทำให้ชั้นดินที่มีกรดแฝงสัมผัสอากาศ และสารประกอบกำมะถันในตะกอนน้ำทะเลแปรสภาพเป็นกรดจัด
   
   
ลักษณะของโรค
 
พบจุดประสีเหลืองฟางข้าวในดินสีเทาเข้มถึงสีดำ
ชั้นดินที่มีกรดแฝง เปลี่ยนจากพีเอช (pH) 8.0-8.5 เป็นพีเอช (pH) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4.5
น้ำในบ่อดินจะมีลักษณะใส เมื่อชิมดูจะมีรสเปรี้ยว
   
   
อาการป่วย
 
ดินมีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.5
มีความเป็นพิษของอะลูมินัั่ม และเหล็ก
มีการตรึงฟอสฟอรัสและจุลธาตุหลายชนิด
ดินมักมีธาตุหารรองพวกแคลเซียมและแมกนีเซียมต่ำ
มีโอกาสที่ชั้นดินที่มีกรดแฝง จะปลดปล่อยกรดออกมาได้อย่างต่อเนื่อง
อาจจะพบอาการของ โรคดินเค็มชายทะเล และ โรคดินมีกรดแฝง ร่วมด้วย
   
   
   
 
การดูแลรักษาเบื้องต้น
 
ควบคุมระดับน้ำให้สูงกว่าชั้นดินที่มีกรดแฝงอย่างเคร่งครัด เพื่อลดปริมาณปลดปล่อยกรดของดิน
การใส่ปูนลงไปในดินเพื่อยกระดับค่า pH ของดิน
ใส่ปุ๋ยธาตุหลักกับธาตุรองตามชนิดพืช และต้นทุนธาตุอาหารในดิน
ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำพวกจุลธาตุทางใบ เมื่อมีอาการขาดธาตุอาหารชัดเจน
หากมีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยิ่งยวด และมีระบบการชลประทานที่ดีพอในการควบคุมระดับน้ำ สามารถใช้วิธีการแกล้งดินได้
   
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.ldd.go.th/Lddwebsite/web_ord/Technical/
HTML/Technical04042.html
 
   
   
 
..
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::