โลกของเรา..มีดินมากน้อยแค่ไหน>>
 
   

 

โลกของเรา..มีดินอยู่มากน้อยแค่ไหน
   
 

พื้นผิวของโลกที่เรายืนอยู่นี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นน้ำ 3 ส่วน และพื้นดิน 1 ส่วน ที่ปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ  

ดังนั้น ถ้าเปรียบโลกของเราเหมือนแอปเปิล 1 ผล

...................
เมื่อแบ่งออกเป็น 4 ส่วน จะมีเพียง 1 ส่วนเท่านั้นที่เป็นพื้นดิน อีก 3 ส่วนที่เหลือเป็นส่วนที่ปกคลุมด้วยพื้นผิวน้ำ เช่น มหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ แ่ม่้น้ำ ลำธารต่างๆ  

แต่ใน 1 ส่วนที่เป็นพื้นดินนี้้ พื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นส่วนของทะเลทราย ขั้วโลก หรือเป็นเทือกเขาที่สูงชัน ซึ่งมีความแห้งแล้ง หนาวเย็น หรือไม่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ได้ จึงจำเป็นต้องตัดออกไป

 

ในส่วนของพื้นดินที่เหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่งนั้น มีเพียงร้อยละ 60 เท่านั้น ที่สามารถใช้เพาะปลูกได้ดส่วนที่เหลือต้องตัดทิ้งไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการใช้ เช่น สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม ดินตื้น หรือดินไม่อุดมสมบูรณ์

 

ดังนั้นเมื่อปอกเอาเฉพาะส่วนของเปลือก
แอปเปิลซึ่งเปรียบเสมือนพื้นผิวโลกที่มีดินปกคลุมอยู่ออกมา
จะเห็นว่า นี่คือส่วนที่เป็นพื้นดินที่เราสามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืช เพื่อผลิตอาหารเลี้ยงชีวิตของคนทั้งโลก ซึ่งเปรียบเทียบกับพื้นที่ผิวโลกทั้งหมดแล้ว มีอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่เหล่านี้ในปัจจุบันยังถูกใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ ด้วย เช่น ที่อยู่อาศัย เมือง สวนสาธารณะ โรงงานต่างๆ เป็นต้น ทำให้ที่ดินที่จะใช้เพื่อการเพาะปลูกจริงๆ นั้นยิ่งลดน้อยลงไปอีก

 

 
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่... http://gsfc.nasa.gov/
   
 
วันนี้....จึงถึงเวลาแล้วที่เราควรจะต้องใช้ผืนดินที่มีอยู่น้อยนิดนี้ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุมค่า และช่วยกันบำรุงรักษาไว้ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนยาวนาน..
   
อ่านต่อ >>
กำเนิดของดิน
ดิน..คืออะไร
ดิน..สำคัญอย่างไร
โลกของเรามีดินอยู่มากน้อยแค่ไหน
ส่วนประกอบของ..ดิน
ปัจจัยที่ควบคุมการสร้างดิน
ลักษณะและสมบัติของดิน
แนวทางการศึกษาเกี่ยวกับดิน
เขาสำรวจดิน..กันอย่างไร
ดินของประเทศไทย
แผนที่ดินและการใช้ประโยชน์
ประเภทของดิน
ดินที่มีปัญหาทางการเกษตร
แหล่งข้อมูล..ที่น่าสนใจ

 

 
   กลับหน้าหลัก
:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::   
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙