|
1.
ภูมิอากาศ (climate) |
|
|
|
ปัจจัยด้านภูมิอากาศที่มีผลต่อการสร้างตัวของดินที่สำคัญคือ
อุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้า
เช่น ฝน น้ำค้าง หิมะ
ฯลฯ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวควบคุมการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ
ทั้งกายภาพ เคมี และชีวภาพ ซึ่งมีผลต่ออัตราการผุพังสลายตัวของวัสดุต่างๆ
ทั้งหิน แร่ และเศษซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้งยังมีอิทธิพลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลง
เคลื่อนย้าย และสะสมวัสดุต่างๆ ที่เกิดขึ้นในดินด้วย |
|
โดยทั่วไปการผุพังสลายตัวของวัสดุต่างๆ
ในพื้นที่เขตร้อน (ส่วนของผิวโลกที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่
23.5 องศาเหนือและใต้จากเส้นศูนย์สูตร) จะเกิดได้รวดเร็วกว่าในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว
(ส่วนของผิวโลกที่อยู่เหนือเส้นรุงที่ 23.5 องศาเหนือและใต้ขึ้นไป)
เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงและปริมาณความชื้นที่มากกว่า
ทำให้กระบวนการต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดสภาวะที่มีการสูญเสียธาตุอาหารออกปากดินอย่างต่อเนื่อง
ดินที่พบในเขตร้อนส่วนใหญ่จึงเป็นดินที่มีการพัฒนาสูงและมักจะขาดความอุดมสมบูรณ์
นอกจากนี้ภูมิอากาศยังมีผลต่อชนิดของสิ่งมีชีวิตและพืชพรรณ
ซึ่งเป็นปัจจัยการสร้างตัวของดินอีกอย่างหนึ่งด้วย
|
|
|
|
2.
สิ่งมีชีวิตหรือปัจจัยทางชีวภาพ (organism) |
|
|
|
สิ่งมีชีวิตในที่นี้หมายถึง
พืชพรรณธรรมชาติ สัตว์
รวมถึงเอนไซม์และสารต่างๆ ที่ผลิตออกมาจากพืช สัตว์
จุลินทรีย์ และกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีของส่วนประกอบในดิน
และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันของดิน
เช่น การสะสมอินทรียวัตถุในดิน การผสมคลุกเคล้าภายในหน้าตัดดิน
การหมุนเวียนของธาตุอาหารพืช และความคงทนของโครงสร้างดิน
เป็นต้น
|
|
|
|
3
สภาพภูมิประเทศ (relief) |
|
|
|
ในที่นี้หมายถึง
ความสูงต่ำหรือระดับที่ไม่เท่ากันของพื้นที่
ความลาดชัน และทิศทางของความลาดชัน ซึ่งมีอิทธิพลต่ออัตราการไหลบ่าของน้ำ
การชะล้างพังทลายของดิน การทับถมของอินทรียวัตถุในดิน
และอุณหภูมิดินซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดลักษณะต่างๆ
ในดิน เช่น ความลึกของดิน ชั้นดิน และสีของดิน ฯลฯ
โดยทั่วไป
ดินที่พบบริเวณที่มีความลาดชันมากๆ มักจะเป็นดินตื้น
มีชั้นดินน้อย ชั้นดินบนบาง หรืออาจจะไม่มีชั้นดินบนเลยก็ได้
มีโอกาสเกิดการชะล้างหน้าดินได้มาก ต่างจากดินที่อยู่บริเวณเชิงเนินที่มักจะมีดินชั้นบนที่หนากว่าและดินลึกมากกว่า
|
|
|
|
4.
วัตถุต้นกำเนิดของดิน (parent material) |
|
|
|
ในที่นี้หมายถึง
วัตถุซึ่งเกิดจากการผุพังสลายตัวของ
หิน แร่ และเศษซากพืชและสัตว์ ซึ่งอาจเป็นวัสดุที่เกิดจากการแปรสภาพอยู่กับที่
ณ บริเวณนั้นๆ หรือเป็นพวกตะกอนต่างๆ ที่ถูกเคลื่อนย้ายมาจากแหล่งอื่นโดย
น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วมาทับถมอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
องค์ประกอบของวัสดุเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อลักษณะและสมบัติต่างๆ
ของดินที่เกิดขึ้นเช่น เนื้อดิน สีดิน ชนิดและปริมาณธาตุอาหารในดิน
วัตถุต้นกำเนิดดินที่สลายตัวมาจากหินทราย หรือหินแกรนิต
ที่มีแร่องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นพวกแร่มีสีจาง เช่น
ควอร์ตซ เมื่อมีการพัฒนาจนกลายเป็นดิน มักจะมีเนื้อหยาบ
มีสีจาง มีธาตุอาหารพืชน้อย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่ถ้าเป็นดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินปูนหรือหินบะซอลท์ซึ่งมีแร่องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีสีเข้ม
มักจะเกิดดินที่มีเนื้อละเอียดกว่า อาจมีสีดำ น้ำตาล
เหลือง หรือแดง มีความอุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ระดับต่ำถึงสูง |
|
|
|
5.
เวลา(time) |
|
|
|
อิทธิพลของเวลาในแง่ของการเกิดดินนั้น
หมายถึง ช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกันไปโดยไมมีเหตุการณ์ที่รุนแรงมาขัดจังหวะการพัฒนาตัวของดิน
ซึ่งการที่จะบอกว่าดินหนึ่งแก่กว่าหรือเก่ากว่าอีกดินชนิดหนึ่งนั้น
ไม่ได้เริ่มนับจากระยะเวลาที่ดินนั้นเริ่มเกิดขึ้น
แต่อาศัยการพิจารณาจากลักษณะและสมบัติของดินที่เราตรวจสอบได้
ณ ปัจจุบัน ซึ่งสามารถจะบ่งชี้ได้ว่าดินนั้นๆ ได้ผ่านกระบวนการผุพัง
กระบวนการชะล้าง กระบวนการสะสม หรือกระบวนการแปรสภาพมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเพียงใด |
|
|
|
ความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้ง
5 สามารถแทนด้วยสมการ ดังนี้ |
|
S
= (cl, o, r, p, t,
) |
|
|