ดินของประเทศไทย ที่มีการใช้ทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นดินที่อยู่ภายใต้สภาพภูมิอากาศเมืองร้อนมีฝนเฉพาะฤดู (tropical savanna climate; Aw) นอกจากบริเวณคาบสมุทรประเทศไทยและทางซีกตะวันออกของชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศซึ่งอยู่ภายใต้สภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (tropical monsoon climate; Am) และในบริเวณตอนล่างสุดของคาบสมุทรประเทศไทยและขอบตะวันออกของชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่ภายใต้สภาพภูมิอากาศแบบฝนเขตร้อน (tropical rain forest; Af) และบริเวณที่สูงของเทือกเขาในภาคเหนือ ซึ่งอยู่ในสภาพภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนชื้น humid sub tropical climate; Cw) ลักษณะดินส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นดินเขตร้อน ในบริเวณที่ดอนเป็นดินที่มีพัฒนาการสูง มีการชะละลายสูง และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ส่วนในที่ลุ่มแม้ว่าจะมีพัฒนาการแตกต่างกันได้ค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นดินที่มีพัฒนาการค่อนข้างสูงเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของดินในระหว่างที่ลุ่มและที่ดอน อาจกล่าวได้ว่า ดินในที่ลุ่มมีศักยภาพในเชิงการผลิตพืชโดยทั่วไปสูงกว่าดินในที่ดอน

   เมื่อจำแนกดินของประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ตาม..ระบบการจำแนกดินประจำชาติ.. พบว่ามีการจำแนกอยู่ในกลุ่มดินหลักรวมทั้งสิ้น 20 กลุ่มดินหลัก ต่อมาภายหลังเมื่อมีการนำ..ระบบอนุกรมวิธานดิน.. (Soil Taxonomy) มาใช้ พบว่า มีการจำแนกอยู่ในอันดับต่างๆรวม 9 อันดับ จากทั้งหมด 12 อันดับ โดยมีดินในอันดับ อัลทิซอลส์ (Ultisols) เป็นปริมาณพื้นที่กว้างขวางที่สุด รองลงมาคือ อินเซปทิซอลส์ (Inceptisols) แอลฟิซอลส์ (Alfisols) เอนทิซอลส์ (Entisols) มอลลิซอลส์ (Mollisols) เวอร์ทิซอลส์ (Vertisols) สปอดโดซอลส์ (Spodosols) ออกซิซอลส์ (Oxisols) และ ฮิสโทซอลส์ (Histosols) ตามลำดับ และผลจากการรวบรวมข้อมูลในเชิงการจำแนกระดับชุดดินของดินในประเทศไทยครั้งล่าสุดในปี 2547 พบว่ามีทั้งหมด 240 ชุดดินเป็นชุดดินที่จัดตั้งในภาคเหนือ 45 ชุดดิน ภาคกลาง 44 ชุดดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44 ชุดดิน และภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้อีก 96 ชุดดิน

     คำว่า "ชุดดิน" ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "soil series" ตามระบบอนุกรมวิธานดิน ถือว่า ชุดดิน เป็นขั้นการจำแนกที่ต่ำที่สุด ต่อจาก วงศ์ดิน (family) กลุ่มดินย่อย (subgroup) กลุ่มดินใหญ่ (great group) อันดับย่อย (suborder) อันดับ (order) ตามลำดับ โดยทั่วไปการตั้งชื่อชุดดินจะใช้ชื่อของสถานที่หรือบริเวณที่รู้จักกันแพร่หลาย สำหรับประเทศไทยใช้ชื่อของจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน หรือชื่อท้องถิ่น บางครั้งอาจใช้ชื่อของแม่น้ำ ลำคลอง ก็ได้ โดยดินนั้นจะต้องมีลักษณะและสมบัติแตกต่างจากดินอื่นๆ ที่ได้เคยจัดตั้งไว้แล้วเป็นครั้งแรก และมีอาณาเขตกว้างขวางมากพอซึ่งในประเทศไทยใช้พื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตรเป็นเกณฑ์

 
     ข้อมูลการจำแนกดินในระดับชุดดินของประเทศไทย ได้มีการปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้อง กับบรรทัดฐานซึ่งเป็นข้อกำหนดในการจำแนกดินที่เปลี่ยนแปลงไปตามการปรับปรุงแก้ไขของกระทรวงเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้สรุปไว้เป็นรายภาคดังนี้
ชุดดินที่จัดตั้งในภาคเหนือ
ชุดดินที่จัดตั้งในภาคกลาง
ชุดดินที่จัดตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชุดดินที่จัดตั้งในภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้
สรุปข้อมูลชุดดินจัดตั้งทั้งประเทศ
 
     กลุ่มชุดดิน                    ลักษณะดินตามกลุ่มชุดดิน 62 กลุ่ม
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 5 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
31 32 33 34 35 36 37 38 39 40
41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60
61 62                
.....