เนื่องจากพบว่าระบบการจำแนกดินแบบเก่ามีข้อบกพร่องหลายประการ
โดยเฉพาะในกรณีที่นำเอาสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดดินมาเป็นบรรทัดฐานมากเกินไป
จนบางครั้งทำให้เกิดความสับสนในการจำแนกดินในสนาม นอกจากนี้คำจำกัดความของอันดับ
หรืออันดับย่อย หรือกลุ่มดิน ยังให้ไว้กว้างเกินไปจนทำให้บางชุดดินสามารถจัดเข้ากลุ่มดินได้หลายกลุ่ม
ซึ่งตามหลักแล้วชุดดินหนึ่งๆ ควรอยู่ได้เพียงกลุ่มดินเดียว ดังนั้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบจำแนกกดินขึ้นมาโดยยึดหลักสำคัญว่าลักษณะที่นำมาจำแนกดินไม่ควรยึดเอาลักษณะแวดล้อมมาใช้
แต่ควรเอาลักษณะทางกายภาพและเคมีของดินโดยตรงซึ่งสามารถวัดได้ในสนามและในห้องปฏิบัติการมาใช้เป็นบรรทัดฐานสำคัญในการจำแนกดิน
ระบบการจำแนกดินดังกล่าวนี้ นักปฐพีวิทยาหลายคนของสหรัฐอเมริกา
โดยมี Dr. Guy D. Smith เป็นผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ
จากนักปฐพีวิทยาทั่วโลก เพื่อนำมาจัดทำระบบการจำแนกดินแบบใหม่ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการเมื่อ
ปี ค.ศ. 1951 และได้ดัดแปลงแก้ไขมาเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มแรกในปี
ค.ศ. 1960 โดยใช้ชื่อว่า Soil Classification A Comprehensive System-7th
Approximation ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขกันอีก และได้พิมพ์เฉบับที่มีการแก้ไขออกมาเรียกว่า
Supplement to Soil Classification Approximation แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1973 ได้พิมพ์แก้ไขฉบับล่าสุดออกมาใช้ โดยใช้ชื่อว่า
Soil Taxonomy (กองสำรวจดิน, 2520)
ในปัจจุบัน Soil Taxonomy หรือระบบอนุกรมวิธานดินนี้
เป็นระบบการจำแนกดินระบบหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในโลก ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการสำรวจทรัพยากรดิน
และการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงการจัดการทางการเกษตร เป็นระบบการจำแนกดินที่เป็นแบบหลายขั้น
(multicategorical system) ตั้งแต่ขั้นสูงถึงขั้นต่ำ รวม 6 ขั้นด้วยกัน
คือ อันดับ (order) อันดับย่อย (suborder) กลุ่มดินใหญ่ (great group)
กลุ่มดินย่อย (subgroup) วงศ์ดิน (family) และชุดดิน (series) ตามลำดับ
การจำแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดินได้แบ่งดินออกเป็น 12 อันดับ
สำหรับดินในประเทศไทยที่สำรวจพบมีเพียง 9 อันดับ ได้แก่ Alfisols,
Entisols, Inceptisols, Vertisols, Histosols, Spodosols, Mollisols,
Oxisols และ Ultisols มีรายละเอียดดังต่อไปนี้...... |