..
รู้จักอาการและการดูแลรักษาเบื้องต้น (โรคที่ต้องเฝ้าระวัง)
  
ดินในพื้นที่สูงชัน
   
 
ลักษณะที่บ่งชี้ถึงสุขภาพไม่ดี
 
สภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน
มีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็น โรคดินปนกรวด และ โรคดินตื้น ได้ง่าย
   
ความเสี่ยงต่อการเจ็บไข้
 
การขาดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ
การไม่มีสิ่งปกคลุมผิวหน้าดิน
รูปแบบการทำการเกษตรไม่เหมาะสม เช่น ปลูกพืชตามความลาดเท
มีปริมาณน้ำฝนมาก หรือมีการให้น้ำมากเกินไปจนเกิดน้ำไหลบ่าหน้าดิน
   
   
อาการป่วย
 
เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ทำให้หน้าดินสีคล้ำบางลงหรือหมดไป ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ในระดับที่รุนแรงขึ้น จะเกิดเป็นร่องขนาดเล็กที่เกิดจากการกร่อนของดินในระดับที่รุนแรงมาก
จะเกิดเป็นร่องกว้างและลึกมากจนเป็นการยากที่จะปรับพื้นที่ให้กลับสภาพเดิม
   
   
 
การเฝ้าระวังเบื้องต้น
 
วางมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างเข้มงวดและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และชนิดพืชปลูก
เลือกรูปแบบการเกษตรกรรมที่เหมาะสม โดยพยายามให้มีสิ่งปกคลุมดินอยู่ตลอดเวลา
ปลูกแฝกตามแนวระดับเป็นแนวรั้วของพื้นที่ปลูกเพื่อใช้ดักตะกอนดิน
จัดการปุ๋ยอินทรีย์และเคมีให้เหมาะสมกับชนิดของพืชและต้นทุนธาตุอาหารในดิน
   
   
   
 
..
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::