..
รู้จักอาการและการดูแลรักษาเบื้องต้น (โรคที่ต้องเฝ้าระวัง)
  
ดินที่เสี่ยงเป็นดินเค็ม
   
 
 
 
 
 
ลักษณะที่บ่งชี้ถึงสุขภาพไม่ดี
 
เป็นดินในพื้นที่เชิงดอน หรือในพื้นที่ต่ำ ซึ่งเป็นเส้นทางการแพร่กระจายของดินเค็ม
เป็นดินที่อยู่โดยรอบแหล่งพื้นที่ทำนาเกลือ หรือแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย-น้ำเค็ม
อยู่ในเขตชลประทานที่น้ำชลประทานมีเกลือละลายอยู่ในน้ำมาก
มีโอกาสเป็น โรคดินเค็มชั่วคราว หรือ โรคดินเค็มบก ได้เสมอ
   
ความเสี่ยงต่อการเจ็บไข้
 
เมื่อมีการใช้พื้นที่อย่างไม่เหมาะสมขาดการระมัดระวัง และเป็นเหตุให้เกิดการแพร่กระจายของเกลือ
เกลือจากชั้นน้ำใต้ดิน ซึมผ่านขึ้นสู่ผิวดินขึ้นมาพร้อมกับน้ำใต้ดิน
   
   
อาการป่วย
 
มีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำใต้ดินที่มีเกลือจนใกล้ถึงชั้นผิวดิน
มีการแพร่กระจายของเกลือ จากน้ำชลประทาน หรือน้ำเหลือทิ้งจากกิจกรรมอื่นๆ ลงในพื้นที่
   
   
ไถกลบพืชปุ๋ยสด
 
การเฝ้าระวังเบื้องต้น
 
ควรให้ความระมัดระวังในการให้การชลประทานและการเจาะน้ำบาดาลในพื้นที่
จะต้องมีการออกแบบพิจารณาเพื่อลดหรือตัดกระแสการไหลของน้ำใต้ดิน ให้อยู่ในสมดุลของธรรมชาติมากที่สุด ไม่ให้เพิ่มระดับน้ำใต้ดินเค็มในที่ลุ่ม
ปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ดอน หรือในตามเส้นทางการแพร่กระจายของดินเค็ม เพื่อลดระดับน้ำใต้ดิน
ป้องกันการสูญเสียความชื้นของดินด้วยการคลุมดิน เพื่อลดการซึมขึ้นสู่ผิวดินของเกลือ
ไถดินให้เป็นเป็นก้อนดินขนาดใหญ่ เพื่อตัดท่อลำเลียงเกลือจากใต้ดิน
เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด แกลบ เพื่อลดการซึมขึ้นสู่ผิวดินของเกลือ และเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
ใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสมตามชนิดของพืช และต้นทุนธาตุอาหารในดิน
   
   
   
 
..
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::