..
รู้จักอาการและการดูแลรักษา (โรคที่เป็นแต่กำเนิด)
  
ดินปนกรวด
   
 
สาเหตุของโรค
 
พื้นที่นั้นเคยเป็นเส้นทางการไหลของน้ำเก่าในอดีต จึงเหลือสิ่งตกค้างเป็นลูกรังหรือกรวดท้องน้ำ
การสลายตัวของหินพื้น หรือตะกอนหินดาดเชิงเขา จึงมีเศษเหลือของเศษหินตกค้างในดิน
การแข็งตัวของศิลาแลงอ่อนแต่ไม่มีการเชื่อมแข็งเป็นแผ่น จึงเหลือเป็นเม็ดลูกรังในดิน
   
   
ลักษณะของโรค
 
พบลูกรัง เศษหิน หรือหินกรวดท้องน้ำ ปะปนอยู่ในดินจำนวนมาก
 
   
   
อาการป่วย
 
มีปริมาณเนื้อดินน้อยลง ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินลดลง
กรวดชนิดต่างๆ ในดินเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช
ลักษณะของดินเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวน
   
   
   
 
การดูแลรักษาเบื้องต้น
 
ลดการไถพรวนดิน หรือระวังการไถพรวนไม่ให้ชั้นกรวดด้านล่างโผล่ขึ้นมาบนผิวดิน
ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดิน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ และดูดซับธาตุอาหาร
การใช้ปุ๋ยพืชสดทำให้ต้องมีการไถกลบ จึงควรทำเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
ใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสมตามชนิดของพืช และต้นทุนธาตุอาหารในดิน
รักษาความชื้นในดินโดยการใช้วัสดุคลุมดิน
   
   
   
   
   
 
..
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::