..
รู้จักอาการและการดูแลรักษา (โรคที่เป็นแต่กำเนิด)
  
ดินเค็มบก
   
สาเหตุของโรค
 
เกลือที่สะสมอยู่ในชั้นดินตะกอน ซึมขึ้นมาสู่ผิวดินพร้อมกับน้ำใต้ดิน ในบริเวณที่เป็นทะเลเก่า
การตกค้างของเกลือในเขตชายฝั่งทะเลเก่า หลังจากน้ำทะเลของโลกลดระดับลงไป
การละลายของชั้นเกลือหินในบริเวณที่เป็นทะเลโบราณในภาคอีสาน และเกลือซึมขึ้นสู่ผิวดินพร้อมกับน้ำใต้ดิน
   
   
ลักษณะของโรค
 
ดินมีรสเค็ม เนื่องจากมีเกลือสะสมตัวอยู่ในดิน
พบมีคราบเกลือที่ผิวดินเมื่อดินแห้ง
   
   
อาการป่วย
 
ดินมีเกลือที่ละลายได้อยู่สูง ทำให้พืชไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้เป็นปกติ
อาจมีอาการของดินแน่นทึบ เนื่องจากมีเกลือโซเดียมมากเกินไปร่วมด้วย
หากมีอาการของโรคชัดเจน ต้นไม้ส่วนใหญ่จะเหี่ยวเฉา และจะพบเฉพาะต้นไม้ที่ทนเค็มได้เท่านั้น
   
   
 
การดูแลรักษาเบื้องต้น
 
หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรคงสภาพไว้เป็นทุ่งหญ้า หนองน้ำ ตามธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ
ป้องกันการสูญเสียความชื้นของดินด้วยการคลุมดิน เพื่อลดการซึมขึ้นสู่ผิวดินของเกลือ
ไถดินให้เป็นเป็นก้อนดินขนาดใหญ่ เพื่อตัดท่อลำเลียงเกลือจากใต้ดิน
เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด แกลบ เพื่อลดการซึมขึ้นสู่ผิวดินของเกลือ และเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
ใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสมตามชนิดของพืช และต้นทุนธาตุอาหารในดิน
ในบางพื้นที่ สามารถกำจัดเกลือออกไปได้โดยการชะล้างด้วยน้ำ
   
ข้อมูลเพิ่มเติม
 
http://www.ldd.go.th/Lddwebsite/web_ord/Technical/
HTML/Technical03035.html
http://www.ldd.go.th/Lddwebsite/web_ord/Technical/
HTML/Technical03001.html
http://www.ldd.go.th/Thai-html/file/page01.pdf
http://www.ldd.go.th/Thai-html/file/page04.pdf
http://animalrangeextension.montana.edu/Articles/Forage/General/Salt-tolerance.htm
 
   
   
 
..
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::