..
รู้จักอาการและการดูแลรักษา (โรคที่เป็นแต่กำเนิด)
  
ดินอินทรีย์
   
สาเหตุของโรค
 
การสะสมของอินทรียวัตถุในพื้นที่ชุ่มน้ำจนเป็นชั้นหนาบนผิวดิน
   
   
ลักษณะของโรค
 
มีเศษซากพืชทั้งที่เน่าเปื่อยผุพังแล้ว และยังไม่เน่าเปื่อยผุพัง สะสมตัวเป็นชั้นหนาบนผิวดิน
ดินมีสีน้ำตาลแดงเข้มหรือน้ำตาลคล้ำ
อาจจะพบลักษณะของ โรคดินมีกรดแฝง อยู่ใต้ชั้นอินทรีย์
   
   
   
อาการป่วย
 
ดินมีการยึดตัวไม่ดี หรือดินมีลักษณะเกาะตัวกันหลวมๆ รากพืชไม่สามารถยึดเกาะดินได้ดี ทำให้ล้มได้ง่าย
ดินจะยุบตัวได้มากเมื่อมีการระบายน้ำออก และเกิดไฟไหม้ได้ง่าย หากเกิดไฟไหม้แล้วจะดับได้ยาก
ดินสามารถอุ้มน้ำได้ดีเกินไปทำให้รากพืชบางชนิดไม่สามารถหายใจได้
ธาตุอาหารบางชนิดอาจจะถูกตรึงไว้ได้ ทำให้พืชขาดธาตุอาหารเหล่านั้น
ในดินที่มีลักษณะของ โรคดินมีกรดแฝง อยู่ หากระบายน้ำออกแล้ว มีโอกาสที่ดินจะเกิดโรคดินเปรี้ยวแทรกซ้อนขึ้นมาร่วมด้วย
   
   
 
การดูแลรักษาเบื้องต้น
 
หากไม่มีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรปล่อยให้เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์จากไม้ป่าในพื้นที่พรุ เช่น ต้นสาคู เป็นต้น
จำเป็นต้องมีการให้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับชนิดของพืช ทั้งปุ๋ยธาตุหลัก และปุ๋ยธาตุรอง
จำเป็นต้องมีการให้ปุ๋ยจุลธาตุกับพืช โดยอาจใช้ในรูปของปุ๋ยน้ำฉีดพ่น
ระมัดระวังในการใช้สารเร่งพด. กับดินโดยตรง เพราะอาจจะทำให้เกิดการหมักของอินทรียวัตถุในดินและเกิดความร้อนสูงจนเป็นเหตุให้ต้นไม้ตาย หรือเกิดไฟไหม้ได้
หากปลูกไม้ยืนต้น ควรทำหลักยึดเพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มของต้นไม้
ระวังการเกิดไฟไหม้ในพื้นที่
ในพื้นที่ขอบพรุควรระวังอย่าให้ดินแห้งเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคดินเปรี้ยวได้ง่าย
หากมีโรคดินเปรี้ยวแทรกซ้อน จำเป็นต้องมีการใส่ปูนร่วมด้วย
   
   
   
   
   
 
..
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::