..
รู้จักอาการและการดูแลรักษา (โรคที่เป็นแต่กำเนิด)
  
ดินเค็มชายทะเล
   
 
สาเหตุของโรค
 
เป็นดินชายทะเล ที่มีน้ำทะเลท่วมถึง ทำให้มีการสะสมเกลือมากในดิน
   
   
ลักษณะของโรค
 
ดินมีรสเค็ม เนื่องจากมีเกลือสะสมตัวอยู่ในดิน
ดินมีสีเทา ถึงสีเทาเข้ม มักมีน้ำแช่ขังตลอดเวลา
ดินมักมีกลิ่นเหม็นของแก๊สไข่เน่า
พบมีคราบเกลือที่ผิวดินเมื่อดินแห้ง
   
   
อาการป่วย
 
ดินมีเกลือที่ละลายได้อยู่สูง ทำให้พืชโดยทั่วไปไม่สามารถเจริญเติบโตได้
ปริมาณออกซิเจนในดินมีอยู่ต่ำมาก ทำให้พืชทั่วไปไม่สามารถเจริญเติบโตได้
ในบางพื้นที่อาจมีอาการของ โรคดินมีกรดแฝง แทรกซ้อนอยู่ด้วย
ในบางพื้นที่อาจมีอาการของ โรคดินเปรี้ยว ร่วมด้วย โดยมีอาการของโรคดินเปรี้ยวในดินบน และมีอาการของโรคดินเค็มชายทะเลในดินล่าง
   
   
 
การดูแลรักษาเบื้องต้น
 
หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรอนุรักษ์ไว้เป็นป่าชายเลนธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำทะเลวัยเยาว์
หากพัฒนาเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จำเป็นต้องระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง
หากอยู่ในพื้นที่ที่มีอาการแทรกซ้อนของ โรคดินมีกรดแฝง ต้องควบคุมระดับน้ำในชั้นดินมีกรดแฝงให้เปียกอยู่เสมอ หากปล่อยให้ดินแห้งจะเกิดเป็น โรคดินเปรี้ยว ซึ่งรักษาได้ยาก
หากพบว่าเป็นดินเปรี้ยวร่วมด้วย จำเป็นต้องมีการใส่ปูนเป็นปริมาณมาก
   
   
   
   
   
 
..
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::