..
รู้จักอาการและการดูแลรักษา (โรคที่เป็นแต่กำเนิด)
  
ดินด่าง
   
สาเหตุของโรค
 
การสะสมตัวของปูนในดินเป็นปริมาณมาก ในเขตพื้นที่ภูเขาหินปูน หรือหินอัคนีสีเข้ม
การสลายตัวของหินตะกอนที่มีปูนแทรกอยู่ในเนื้อหิน
   
   
ลักษณะของโรค
 
ดินมีค่าพีเอช (pH) มากกว่าหรือเท่ากับ 7.5 โดยความเป็นด่างสืบเนื่องมาจากปูน
อาจมีเม็ดปูนปะปนอยู่ในดิน
   
   
อาการป่วย
 
พืชมีความเสี่ยงในการขาดจุลธาตุบางตัว เช่น เหล็ก และแมงกานีส
มีการตรึงฟอสฟอรัสมากในดิน ทำให้พืชมีความเสี่ยงในการขาดฟอสฟอรัส
อาจมีโอกาสพบอาการของ โรคดินปนกรวด เนื่องจากเม็ดปูนแทรกซ้อนได้
พืชจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้ง่าย เมื่อพบชั้นปูนในระดับตื้น
   
   
   
 
การดูแลรักษาเบื้องต้น
 
ใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยฟอสฟอรัสให้แก่พืช
การใช้ปุ๋ยเคมีต้องคำนึงถึงต้นทุนธาตุอาหารอย่างมาก และควรใส่ในปริมาณที่พอเหมาะกับชนิดพืช
อาจมีความจำเป็นต้องฉีดพ่นปุ๋ยจุลธาตุให้กับพืชทางใบ ในพืชที่มีความอ่อนไหวต่อการขาดจุดธาตุ เช่น ถั่วลิสง
ควรมีการไถกลบต่อซังสม่ำเสมอ หรือเพิ่มเติมอินทรียวัตถุด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เพื่อรักษาปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
ควรมีการคลุมดิน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดน้ำของพืช
   
   
   
   
   
 
..
 
 
 

:: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์:: ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ::