เลือกจังหวัดที่ต้องการจาก แผนที่/เมนู
 
cvx
 
  ช้อมูล..
ทรัพยากรดิน..และแนวทางการจัดการดิน ภาคใต้
พืชเศรษฐกิจและการบำรุงดูแล
   
 
   
 
ความเป็นมา
 


         กรมพัฒนาที่ดิน ได้ทำการ ศึกษา สำรวจ จำแนก จัดหมวดหมู่ดิน และทำแผนที่ดินที่พบในประเทศไทยในหลากหลายรูปแบบ และข้อมูล “่กลุ่มชุดดินสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ” เป็นข้อมูลดินลักษณะหนึ่งที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย โดยหน่วยจำแนกดินแบบกลุ่มชุดดินนี้จัดทำขึ้นจากการพิจารณาจัดหมวดหมู่ดินตามลักษณะและสมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกัน ในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก มีทั้งหมด 62 กลุ่มชุดดิน แบ่งตามสภาพพื้นที่ที่พบได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ำขัง พบทุกภาค ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 57, 58 และ 59
2. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง พบในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28, 29, 30, 31, 33, 35, 36, 37, 38, 40, 41, 44, 46, 47, 48, 49, 52, 54, 55, 56, 60 และ 61
3. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น พบในภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 26, 27, 32, 34, 39, 42, 43, 45, 50, 51 และ 53
4. กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง ได้แก่ พื้นที่ภูเขาและเทือกเขา ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62   

 

     อย่างไรก็ตามในการนำข้อมูลกลุ่มชุดดินเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ ผู้ใช้มักจะประสบปัญหาในการจำแนกลักษณะ สมบัติของดินอยู่เสมอ ทำให้การใช้ข้อมูลเหล่านี้ยังคงถูกจำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงนักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านปฐพีวิทยา สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน จึงได้พัฒนารูปแบบวิธีการเผยแพร่ข้อมูลดินจากผลงานวิชาการที่ซับซ้อนให้เป็นข้อมูลที่บุคคลทั่วไปสามารถศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้วยการจัดทำ "คู่มือการจัดการดินระดับจังหวัด" ขึ้น โดยใช้ข้อมูลแผนที่กลุ่มชุดดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจระดับจังหวัด มาตราส่วน 1:50,000 เป็นฐานข้อมูลหลัก และได้จัดหมวดหมู่กลุ่มชุดดินใหม่ ตามลักษณะเด่นของดินและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ของกลุ่มชุดดินต่างๆ แบ่งได้เป็น "กลุ่มการจัดการดินตามลักษณะเด่นของดินและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ 34 กลุ่ม" พร้อมทั้งแนะนำวิธีการจัดการดินที่มีปัญหาต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรได้อย่างเหมาะสมต่อไป

 

     เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการข้อมูลต่างๆ ไปสู่เกษตรกรและผูู้สนใจได้อย่างทั่วถึงและประหยัด จึงได้พัฒนาฐานข้อมูลดังกล่าวและจัดทำเป็น "เว็บไซต์แนวทางการจัดการดิน..ภาคใต้" ขึ้น เพื่อนำเสนอรายละเอียดข้อมูลลักษณะเด่นของดิน ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ดินด้านการเกษตร ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช พร้อมทั้งวิธีการหรือแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้เป็นรายจังหวัด ตามที่สนใจ
 


 

ส่วนมาตรฐานการสำรวจจำแนกดินและที่ดิน
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

...สงวนลิขสิทธิ์...

 

 

เลือกจังหวีดกระบี่ เลือกจังหวัดชุมพร