|
|
|
|
|
|
|
|
..... |
|
|
ความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารพืช |
|
เราทราบแล้วว่า
ดินประกอบด้วยของแข็งที่มีขนาดอนุภาคต่างๆ กัน ตั้งแต่อนุภาคขนาดทราย
ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร จนถึงขนาดดินเหนียว
ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.002 มิลลิเมตร |
|
|
(แร่ในกลุ่มเคโอลิน) |
|
|
จากการศึกษาพบว่า
อนุภาคที่มีมากที่สุดในกลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียวนี้ก็คือ
แร่ดินเหนียว (clay
minerals) ซึ่งถือกันว่าเป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆ
ในดิน
แร่ดินเหนียว จัดเป็นแร่ที่มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นชั้นที่มีรูปร่างแบนบางเหมือนแผ่นกระดาษ
และมีการเชื่อมโยงระหว่างกันในลักษณะของการเรียงซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ
จนเกิดเป็นผลึกที่มีรูปทรงต่างๆ กัน เช่น เป็นแผ่นบาง
เป็นเส้น เป็นหลอดหรือเป็นท่อ แร่ดินเหนียวมีหลายกลุ่ม
เช่น กลุ่มเคโอลิน เสมกไทต์ อิลไลต์ คลอไรต์ และอื่นๆ
นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกชนิดของแร่ดินเหนียวได้โดยการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
การทดสอบการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ หรือใช้การวิเคราะห์ทางเคมีบางอย่าง
เนื่องจากที่พื้นผิวของแร่ดินเหนียวนี้มีประจุไฟฟ้าลบ
จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาการดูดยึดและและเปลี่ยนธาตุอาหารต่างๆ
ที่ละลายอยู่ในดินซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกได้ ดังนั้นถ้าในดินมีแร่ดินเหนียวมากก็จะมีประจุลบมาก
จึงสามารถดูดยึดธาตุอาหารที่มีประจุบวกได้ได้มากด้วย
แร่ดินเหนียวจึงเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช
ความรุนแรงของสภาพความเป็นกรด นอกจากนี้ยังมีส่วนควบคุมหรือต้านทานการเปลี่ยนแปลงของดินต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุบวกในดิน
ยังขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ดินเหนียวอีกด้วย โดยที่แร่ในกลุ่มเคโอลิน
จะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุน้อยกว่าแร่ดินเหนียวในกลุ่มสเม็กไทต์
และอิลไลต์ เป็นต้น
|
|
|
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเอกสาร
... |
|
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา.
2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น
(บทที่ 6 คอลลอยด์ดิน). ภาควิชาปฐพีวิทยา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. |
|
อัญชลี
สุทธิประการ. 2534. แร่ในดิน
เล่มที่ 2 แร่ดินเหนียวและเทคนิคการวิเคราะห์.
ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรุงเทพฯ. 624 น. |
|
Soil Science Education
Homepage (http://soil.gsfc.nasa.gov/forengeo/thnsec.htm)
|
|
|
|
|
|
|
.... |
|
|
::
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
๑๐๙๐๐
โทร. ๐๒๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙ |
|