การสำรวจดิน คือ การสำรวจหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของดิน ตลอดจนสภาพแวดล้อม โดยวิธีการทางสนาม และการวิเคราะห์ข้อมูลในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ทราบถึงความคล้ายคลึง และความแตกต่างของดินในแต่ละพื้นที่ แล้วนำมาบันทึกในรูปของแผนที่และรายงาน
ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ขอบเขตและการแพร่กระจาย ลักษณะและสมบัติของดิน สภาพแวดล้อมของดิน และมีการแปลความหมายของข้อมูลเหล่านั้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ เช่น ด้านการเกษตร ป่าไม้ วิศวกรรม ชลประทาน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ภัยธรรมชาติต่างๆ ้
วิธีการที่ดีที่สุดในการตรวจสอบลักษณะดินในสนาม คือ การศึกษาลักษณะดินจากหลุมดินที่เพิ่งขุดใหม่ๆ หรือศึกษาจากหน้าตัดดิน ซึ่งจะแสดงให้เป็นถึงความแตกต่างที่มีอยู่ภายในดิน เช่น สีดิน เนื้อดิน ชนิดของวัสดุหรือสิ่งที่ปะปนอยู่ในดินและการจัดเรียงชั้นดินในหน้าตัดดินได้อย่างชัดเจน นักสำรวจดินจะศึกษาลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินในช่วงความลึกตั้งแต่ผิวหน้าดินลงไปประมาณ 2 เมตร โดยจะตรวจสอบและบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดในเรื่องต่างๆ เช่น ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของจุดที่ทำการศึกษาสภาพพื้นที่ และข้อมูลทั่วไปอื่นๆ และลักษณะของดินอย่างละเอียด พร้อมทั้งทดสอบสมบัติของดินบางประการตามที่กำหนด เช่น ชั้นดิน ความลึก สีดิน โครงสร้างของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ รวมถึงการจำแนกชนิดของดินเบื้องต้นและการทำแผนที่ต้นร่าง
- การตรวจหาปริมาณของอนุภาคขนาดต่างๆ ได้แก่ ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว
การทำแผนที่ดิน เป็นการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลดินทั้งจากภาคสนาม ผลการวิเคราะห์ต่างๆ ในห้องปฏิบัติการและข้อมูลการจัดจำแนกชนิดของดิน เพื่อจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตและการกระจายของดินชนิดต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ โดยจะต้องรักษามาตรฐานของความถูกต้องตามมาตราส่วนที่กำหนดและประเภทของการสำรวจดิน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการแปลความหมายเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ