|
ดินสีดำ
สีน้ำตาลเข้มหรือสีคล้ำ |
|
ส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
เนื่องจากมีการคลุกเคล้าด้วยอินทรียวัตถุมาก
โดยเฉพาะดินชั้นบน แต่บางกรณี สีคล้ำของดิน
อาจจะเป็นผลมาจากอิทธิพลของปัจจัยที่ควบคุมการเกิดดินอื่นๆ
นอกเหนือไปจากการมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินมากก็ได้
เช่น ดินที่พัฒนามาจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุพังสลายตัวมาจากหินที่ประกอบด้วยแร่ที่มีสีเข้ม
เช่น หินภูเขาไฟ และมีระยะเวลาการพัฒนาไม่นาน
หรือดินมีแร่แมงกานีสสูง ก็จะให้ดินที่มีสีคล้ำได้เช่นกัน
|
|
|
|
ดินสีเหลืองหรือแดง |
|
สีเหลืองหรือแดงของดินส่วนใหญ่จะเป็นสีออกไซด์ของเหล็กและอลูมิเนียม
แสดงถึงการที่ดินมีพัฒนาการสูง
ผ่านกระบวนการผุพังสลายตัวและซึมชะมานาน
เป็นดินที่มีการระบายน้ำดี แต่มักจะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ดินสีเหลืองแสดงว่าดินมีออกไซด์ของเหล็กที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ
ส่วนดินสีแดงจะเป็นดินที่ออกไซด์ของเหล็กหรืออลูมิเนียมไม่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ |
|
|
|
ดินสีขาวหรือสีเทาอ่อน |
|
การที่ดินมีสีอ่อน อาจจะแสดงว่าเป็นดินที่เกิดมาจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกที่สลายตัวมาจากหินที่มีแร่สีจาง
เป็นองค์ประกอบอยู่มาก เช่น หินแกรนิต
หรือหินทรายบางชนิด หรืออาจจะเป็นดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างอย่างรุนแรง
จนธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชถูกซึมชะออกไปจนหมด
หรือมีสีอ่อนเนื่องจากมีการสะสมปูน
ยิปซัม หรือเกลือชนิดต่างๆ ในหน้าตัดดินมากก็ได้
ซึ่งดินเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ |
|
|
|
ดินสีเทาหรือสีน้ำเงิน |
|
การที่ดินมีสีเทา เทาปนน้ำเงิน
หรือน้ำเงิน บ่งชี้ว่าดินอยู่ในสภาวะที่มีน้ำแช่ขังเป็นเวลานาน
เช่น ดินนาในพื้นที่ลุ่ม หรือดินในพื้นที่ป่าชายเลนที่มีน้ำทะเลท่วมถึงอยู่เสมอ
มีสภาพการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศไม่ดี
ทำให้เกิดสารประกอบของเหล็กพวกที่มีสีเทาหรือสีน้ำเงิน
|
|
แต่ถ้าดินอยู่ในสภาวะที่มีน้ำแช่ขังสลับกับแห้ง
ดินจะมีสีจุดประ
ซึ่งโดยทั่วไปมักปรากฏเป็นจุดประสีเหลืองหรือสีแดงบนพื้นสีเทา
ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบออกไซด์ของเหล็กที่สะสมอยู่ในดิน
โดยสารเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในรูปที่มีสีเทาเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีน้ำแช่ขัง
ขาดออกซิเจนเป็นเวลานานๆ และเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ให้สารสีแดงเมื่อได้รับออกซิเจน |
|
|
|
|