ชุดดินยี่งอ
(Yi-ngo series: Yg) |
กลุ่มชุดดินที่ 51
การจำแนกดิน Loamy-skeletal, mixed, semiactive, isohyperthermic
Typic Paleudults
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ
เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินกรวดเหลี่ยม
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน
5-20 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้น
ยางพารา
การแพร่กระจาย พบในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น Ap-Btc-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้น ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายทับอยู่บนดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนกรวดเหลี่ยม
(ชั้นก้อนหินกรวดเหลี่ยมพบภายในความลึก 50 ซม.) มีสีน้ำตาล
ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนก้อนกรวดเหลี่ยม
มีสีน้ำตาลหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง
(pH 5.0-6.0) ตลอดหน้าตัดดิน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ไม่มี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินตื้น ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและสภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ชุดดินนี้ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการเพาะปลูก
ควรปล่อยไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ ถ้าหากนำมาใช้เพาะปลูกจะต้องมีการจัดการที่ดีและลงทุนสูง |