ชุดดินวังตง (Wang Tong series: Wat)

กลุ่มชุดดินที่ 6
การจำแนกดิน Fine, kaolinitic, isohyperthermic Typic (Aquic) Plinthudults
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหิน shale หรือหินในกลุ่ม
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา ไม้พุ่มเตี้ยและทุ่งหญ้า
การแพร่กระจาย พบในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น Ag-ABg-Btv-Btgv
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-5.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีเทา มีจุดประสีน้ำตาลและสีเหลืองตลอดชั้นดิน มีศิลาแลงอ่อนมากกว่า 50 %โดยปริมาตรหรือพบต่อเนื่องกันภายในความลึก 150 ซม. จากผิวดิน
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินน้ำกระจาย และชุดดินแกลง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ในการทำนามักขาดน้ำในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ชุดดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและพบในที่สูงมักขาดน้ำในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานจึงไม่ค่อยเหมาะสมในการทำนา การใช้ประโยชน์ในบริเวณนี้จึงจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำเพื่อให้แก่พืชที่ปลูกในยามที่ฝนทิ้งช่วง การทำสวนยางพาราหรือสวนปาล์ม จำเป็นต้องมีการยกร่องเพื่อช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙