ชุดดินตาขุน
(Tha Khun series: Tkn) |
กลุ่มชุดดินที่ 32
การจำแนกดิน Coarse-loamy, mixed, superactive, acid,
isohyperthermic Typic
Udifluvents
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนสันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
0-2 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม้ผล ยางพารา
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในบริเวณสันดอนริมแม่น้ำของภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น A-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายมีสีน้ำตาล
ดินล่างเป็นชั้นสลับที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายถึงเป็นดินร่วนเหนียวปานกลาง
มีสี น้ำตาล อาจมีจุดประสีเหลือง มีไมก้าตลอดทุกชั้นดิน
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH
4.5-5.5) ตลอดหน้าตัดดิน ระดับน้ำใต้ดินลึก |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินลำแก่น
และชุดดินท่าม่วง
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย
ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ และอาจมีน้ำท่วมขังอย่างฉับพลันในฤดูฝน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ดินบริเวณเหมาะสมในการปลูกพืชไร่และพืชผัก
หรือพืชอื่นๆ ที่มีอายุสั้น เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมอย่างฉับพลัน
และควรมีการให้น้ำร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตกับพืชที่ปลูก |