ชุดดินทุ่งหว้า
(Thung Wa series: Tg) |
กลุ่มชุดดินที่ 54
การจำแนกดิน Coarse-loamy, siliceous, subactive,
isohyperthermic Typic Paleudults
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ
เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินแกรนิตและหินในกลุ่ม
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด
มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางถึงเร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ยางพารา สวนผลไม้
การแพร่กระจาย พบในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ
บริเวณที่มีหินพื้นเป็นหิน
แกรนิต
การจัดเรียงชั้น A-AB-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย
มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาล ปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง
(pH 5.5-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหยาบถึงหยาบมาก
มีสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH
4.5-5.5) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินละหาน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
เนื้อดินเป็นทรายหยาบ และความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินบริเวณนี้ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการเพาะปลูก
เนื่องจากดินเป็นดินปนทรายหยาบและความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ
ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีการใช้ประโยชน์บนดินบริเวณนี้
ต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีและปลูกพืชคลุมดิน หรือในช่วงแล้งอาจมีความจำเป็นต้องให้น้ำแก่พืชที่ปลูก
มิฉะนั้น จะทำให้พืชที่ปลูกตายและเสียหายได้ |