ชุดดินตราด
(Trat series: Td) |
กลุ่มชุดดินที่ 53
การจำแนกดิน Fine, kaolinitic, isohyperthermic Typic
Kandiudults
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ
เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินดินดานและหินในกลุ่ม
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด
มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้น
ยางพารา
การแพร่กระจาย พบกระจัดกระจายในภาคตะวันออกของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น Ap-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน
ดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดเล็กน้อย (pH 6.0-6.5)
ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวด มีสีแดงปนเหลือง
ดินชั้นล่างถัดลงไปเป็นดินเหนียวปนลูกรัง และเศษหินดินดานอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า
50 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด
(pH 4.5-5.5) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินตรัง
และชุดดินคลองซาก
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเป็นดินปนลูกรัง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราและทำสวนผลไม้แต่เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
มีเนื้อดินเป็นดินปนลูกรัง และสภาพพื้นที่มีความลาดชัน
การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ดินในบริเวณนี้จึงต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมี
ปลูกพืชคลุมดิน และมีการทำขั้นบันไดในบริเวณที่มีความลาดชันสูง |