ชุดดินสวี
(Sawi series: Sw) |
กลุ่มชุดดินที่ 50
การจำแนกดิน Loamy-skeletal, mixed, semiactive, isohyperthermic
Typic Paleudults
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ
เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินทราย
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน
1-12 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้น
พืชไร่ ยางพารา
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น Ap-Bw-Bt-Btc
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกปานกลาง ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย
มีสีน้ำตาลหรือสี น้ำตาลปนเหลือง ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวด
มีสีน้ำตาลปนเหลือง ดินชั้นล่างถัดลงไปมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดมากและอยู่ลึกกว่า
50 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด
(pH 4.5-5.5) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินชุมพร
ชุดดินคลองซาก และชุดดินหาดใหญ่
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและเป็นดินปนกรวด
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมสำหรับปลูกยางพาราและทำสวนปาล์ม
แต่จำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีและปลูกพืชคลุมดิน เนื่องจากเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
และเป็นดินปนทราย ในพื้นที่ที่มีความลาดชันอาจมีการกร่อนสูญเสียหน้าดินไป |