ชุดดินสะท้อน (Sathon series: Stn)

กลุ่มชุดดินที่ 25
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, semiactive, isohyperthermic Typic Plinthaquults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำเก่า
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบ (มีความลาดชัน 1-2 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ดินบนเร็วดินล่างช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ใช้ทำนา บางพื้นที่ยังเป็นป่าพุ่มเตี้ย หรือใช้ปลูก
ยางพารา
การแพร่กระจาย พบในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น Ag-Bg-Btg-Btcgv
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกปานกลาง พบก้อนกรวดมากกว่า 35 % โดยปริมาตร ระหว่างความลึก 50-100 ซม. ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีเข้มของน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล ซึ่งอยู่บนดินร่วนปนทราย มีสีเทาปนน้ำตาลหรือสีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ำตาล ดินชั้นล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว สีเทาปนชมพูหรือสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล ลึกลงไปจะพบลูกรังและชั้นล่างสุดจะพบศิลาแลงอ่อน (plinthite) มากกว่า 50 % โดยปริมาตรหรือพบต่อเนื่องกันภายในความลึก 150 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ในดินบนแล้วลดลงตามความลึก
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินวิสัย ชุดดินน้ำกระจาย และชุดดินกันตัง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ชุดดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมักขาดน้ำในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ชุดดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและดินบนเป็นดินปนทราย ทำให้ความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ ในการทำนา จำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดินและควรมีแหล่งน้ำอยู่บริเวณใกล้ๆ เพื่อจะได้นำไปใช้ในยามที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ ในการทำสวนยางพาราหรือสวนผลไม้ ต้องมีการช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙