ชุดดินสงขลา
(Songkhla series: Sng) |
กลุ่มชุดดินที่ 17
การจำแนกดิน Fine-loamy, siliceous, subactive, isohyperthermic
Aquic Paleudults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของการกำเนิดที่เป็นหิน granite
น้ำพามาทับถมอยู่บนเนิน
ตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ใช้ทำนา
การแพร่กระจาย พบกระจัดกระจายทั่วไปในที่ลุ่มต่ำระหว่างเนินเขาที่เป็นหินแกรนิต
การจัดเรียงชั้น Ap-AB-Bt-Btg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย
มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
มีสีเทาและมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองตลอดชั้นดิน
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ตลอดหน้าตัดดิน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินโคกเคียน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและเนื้อดินเป็นดินปนทราย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่มีความเหมาะสมปานกลางสำหรับการทำนา
แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและเนื้อดินเป็นดินปนทราย
จึงจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และการอุ้มน้ำของดินให้มากขึ้น |