ชุดดินระยอง (Rayong series: Ry)

กลุ่มชุดดินที่ 43
การจำแนกดิน Isohyperthermic, uncoated Typic Quartzipsamments
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะกอนทะเลบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ มากเกินไป
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าละเมาะ มะพร้าว และพุทรา
การแพร่กระจาย พบบริเวณสันทรายเก่า ตามชายฝั่งทะเลของประเทศ
การจัดเรียงชั้น A-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินทราย มีสีน้ำตาลหรือสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดเล็กน้อย (pH 6.0-6.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินหัวหิน ชุดดินพัทยา และชุดดินบาเจาะ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินทรายจัด ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และความสามารถในการ อุ้มน้ำของดินต่ำมาก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์ของที่ดินบริเวณนี้ ควรเลือกชนิดพืชที่ปลูก เช่น มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์และมีการจัดการที่ดี โดยการขุดหลุมและมีวัสดุรองพื้น (ผสมกับซากพืชและปุ๋ยคอก) ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความสามารถของดินในการอุ้มน้ำและเพิ่มธาตุอาหารแก่พืช นอกจากนี้ต้องมีการให้น้ำและปลูกพืชคลุมดินหรือใช้วัสดุคลุมดินและให้ปุ๋ยเคมีแก่พืชที่ปลูกด้วย




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙