ชุดดินรือเสาะ
(Ruso series: Ro) |
กลุ่มชุดดินที่ 32
การจำแนกดิน Fine-silty, mixed, semiactive, isohyperthermic
Typic Palehumults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำหรือสันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน
2-5 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็วถึงปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน สวนผลไม้
กาแฟ พืชผัก และยางพารา
การแพร่กระจาย พบตามสันดินริมน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ๆ
การจัดเรียงชั้น A-Bw-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนถึงดินร่วนปนดินเหนียว
มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลือง ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง พบเกล็ดแร่ไมก้าตลอด
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 4.5-6.0)
ตลอดหน้าตัดดิน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
ปานกลาง |
25-50 |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินท่าแซะ
และชุดดินลำภูรา
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและมักขาดน้ำในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่เหมาะสมในการทำสวนผลไม้แต่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
จึงจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
และในบริเวณนี้เป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่สำคัญของภาคใต้
ในบางช่วงของปีต้องมีการชลประทานเข้าช่วย ส่วนในบริเวณพื้นที่ค่อนข้างต่ำ
ในปีที่มีฝนตกชุกและหนักอาจประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างฉับพลันและอาจทำให้พืชที่ปลูกเกิดความเสียหายได้ |