ชุดดินระนอง (Ranong series: Rg)

กลุ่มชุดดินที่ 51
การจำแนกดิน Loamy-skeletal, mixed, semiactive, acid, isohyperthermic Lithic
Udorthents
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินทรายและหินในกลุ่ม
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา มีความลาดชัน 5-35 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้น ยางพารา
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในบริเวณที่มีหินพื้นเป็นหินทรายและหินเขี้ยวหนุมาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นเนินเขา เทือกเขา หรือเชิงเขา
การจัดเรียงชั้น A-AC-C-R
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้น ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ดินล่างเป็นดินร่วนถึงเป็นดินร่วนเหนียวปนก้อนหินและมีชั้นหินพื้นภายในความลึก 50 ซม.
จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ในดินบนแล้วลดลงตามความลึก
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพะโต๊ะ และชุดดินท่ายาง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินตื้นที่มีสภาพความลาดชันสูง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ถ้าหากมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ในการปลูกยางพารา จะต้องมีการทำขั้นบันได ปลูกพืชคลุมดิน และมีการให้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙