ชุดดินพัทยา
(Phatthaya series:Py) |
กลุ่มชุดดินที่ 43
การจำแนกดิน Isohyperthermic, coated Typic Quartzipsamments
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะกอนทะเลบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
(beach sand)
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ มากเกินไป
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน มันสำปะหลัง
กล้วย สับปะรด ละหุ่ง และ
มะพร้าว เป็นต้น
การแพร่กระจาย พบตามบริเวณหาดทรายชายฝั่งทะเล ซึ่งมักเป็นหาดทรายเก่า
การจัดเรียงชั้น A-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมากเนื้อดินเป็นดินทรายหยาบ
มีสีน้ำตาลตลอดทุกชั้นดิน
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)
ตลอดหน้าตัดดิน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
สูง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินหัวหิน
ชุดดินบาเจาะ และชุดดินระยอง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินทรายจัด ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
และความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามปกติไม่ควรนำมาใช้ในการปลูกพืชไร่
ควรใช้ปลูกมะพร้าวและมีการปลูกพืชคลุมดินเพื่อลดการระเหยของน้ำ
ถ้ามีการปลูกหญ้าควบคู่ไปกับการเลี้ยงวัว-ควาย จะเป็นประโยชน์มากและเป็นการเพิ่มรายได้อีกด้วย |