ชุดดินพัทลุง (Phattalung series: Ptl)

กลุ่มชุดดินที่ 6
การจำแนกดิน Fine, kaolinitic, isohyperthermic Plinthic Paleaquults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำเก่า
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ใช้ทำนา
การแพร่กระจาย บริเวณที่ลุ่มต่ำถัดจากที่ราบลุ่มน้ำทะเลเคยท่วมถึง ในภาคใต้
การจัดเรียงชั้น Apg-Bg-Btgv
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนถึงดินร่วนปนดินเหนียว มีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวทับอยู่บนดินเหนียว ดินเหนียวปนทรายแป้ง มีสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล สีเหลือง และสีแดง มีศิลาแลงอ่อน (plinthite) ปริมาณ 5-50 % ภายในความลึก 150 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 5.0-6.5) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบางนารา ชุดดินแกลง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่เหมาะสมต่อการทำนาแต่เนื่องจากดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ จึงจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ชุดดินนี้พบเป็นบริเวณกว้างใหญ่ในภาคใต้ ถ้าหากมีการชลประทานที่ดีจะเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙