ชุดดินปากคม (Pak Khom series: Pkm)

กลุ่มชุดดินที่ 26
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, semiactive, isohyperthermic Typic (Aquic) Plinthudults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำเก่า
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-8 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น Ap-BA-Btg-Btgv
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาล ดินล่างชั้นถัดไปเป็นดินร่วนปนดินเหนียว มีสีเทา มีจุดประสีน้ำตาลและสีแดงของศิลาแลงอ่อน (plinthite) มากกว่า 50 %โดยปริมาตร ภายในความลึก 150 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 4.5-6.0) ตลอดหน้าตัดดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินปานกลาง ระดับน้ำใต้ดินลึก
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินท่าแซะ ชุดดินสวี และชุดดินเขาขาด
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและการระบายน้ำค่อนข้างดี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ชุดดินนี้มักพบในพื้นที่ค่อนข้างสูง ไม่เหมาะสมต่อการทำนาเนื่องจากมักขาดแคลนน้ำนานในช่วงการปลูกข้าว แต่ถ้านำมาใช้ปลูกยางพารา ไม้ผลหรือปาล์มน้ำมัน ควรมีการทำร่องระบายน้ำเพื่อป้องกันการแช่ขังน้ำ นอกจากนี้ควรมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙