ชุดดินพะวง (Phawong series: Paw)

กลุ่มชุดดินที่ 6
การจำแนกดิน Very-fine, kaolinitic, isohyperthermic Umbric Paleaquults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบชายฝั่งทะเล
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย ภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น Ap-AB-Btg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีสีเข้มมากของน้ำตาลปนเทาหรือสีเทาเข้มมาก ดินชั้นบนนี้มีโครงสร้างดีและไม่แข็งมากเมื่อดินแห้ง (Umbric epipedon) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีเทา มีจุดประสีเหลือง สีน้ำตาลตลอดชั้นดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ตลอดหน้า ตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินคลองขุด
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่เหมาะในการทำนา แต่เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำจึงต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙