ชุดดินผักกาด (Phak Kat series: Pat)

กลุ่มชุดดินที่ 7
การจำแนกดิน Fine, mixed, semiactive, isohyperthermic Plinthaquic Paleudalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบลุ่ม
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้น พืชไร่ ทุ่งหญ้าและป่าละเมาะ
การแพร่กระจาย ภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น A-Bt-Btgv
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองหนา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีเทาหรือสีเทาปนน้ำตาล มีจุดประสี น้ำตาล สีแดง ตลอดชั้นดินและอาจพบก้อนแข็งของเหล็ก-แมงกานีสกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในชั้นดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.0-6.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสายบุรี และชุดดินละงู
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว และความอุดมสมบูรณ์ของดินดีปานกลาง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่เหมาะสมปานกลางสำหรับการทำนาแต่สภาพพื้นที่ค่อนข้างสูง จึงมักมีการขาดน้ำในฤดูเพาะปลูก สำหรับการปลูกยางพารา สวนผลไม้ หรือพืชไร่ ต้องช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น โดยการทำร่องน้ำหรือคันดินกั้นน้ำ เป็นต้น




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙