ชุดดินมะขาม (Makham series: Mak)

กลุ่มชุดดินที่ 19
การจำแนกดิน Coarse-loamy over clayey, siliceous over kaolinitic, subactive,
nonacid, isohyperthermic Fluvaquentic Eutrudepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำเก่า
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ดินบนเร็วและดินล่างช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าแคระ และทุ่งหญ้า
การแพร่กระจาย พบในบริเวณพื้นที่ที่ลุ่มต่ำภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น A-AE-E-Bg
ลักษณะและสมบัติดิน ดินร่วนหยาบทับอยู่บนดินเหนียวลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน มีสีน้ำตาล ทับถมอยู่บนดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ำตาลหรือสีชมพู ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย มีสีเทาหรือสีขาว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) มีจุดประสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีแดงปนเหลืองตลอดชั้นดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ไม่มี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นดินปนทราย และขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมปานกลางสำหรับการปลูกข้าว มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินเป็นดินปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และขาดแคลนน้ำ ควรปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙