ชุดดินเกาะใหญ่ (Ko Yai series: Koy)

กลุ่มชุดดินที่ 16
การจำแนกดิน Coarse-silty, mixed, nonacid, isohyperthermic Typic Tropaquepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนลำน้ำในพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลหรือทะเลสาบ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน นาข้าว กก และกระจูด
การแพร่กระจาย พบแพร่กระจายในพื้นที่บริเวณภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาค ตะวันออก
การจัดเรียงชั้น Ap-AB-Bg
ลักษณะและสมบัติดิน ดินทรายแป้งหยาบลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง มีสี น้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งหรือดินร่วนปนทรายแป้ง มีสีเทา มีจุดประสีเหลืองและสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินตากใบ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน หน้าดินแน่นทึบ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำและขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมดีในการใช้ทำนา มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งทำให้หน้าดินแน่นทึบ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำและขาดแคลนน้ำ ควรปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙