ชุดดินเชียรใหญ่ (Chian Yai series: Cyi)

กลุ่มชุดดินที่ 10
การจำแนกดิน Fine, mixed, superactive, acid, isohyperthermic Haplic Sulfaquents
การกำเนิด เกิดจากตะกอนทะเลในพื้นที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงหรือบริเวณขอบๆ พื้นที่พรุ
สภาพพื้นที่ แอ่งหรือพื้นที่พรุ (depression or swampy area) มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเสม็ด และนาข้าว
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำหรือพื้นที่พรุชายฝั่งทะเลของภาคใต้
การจัดเรียงชั้น Ag-(Oi-Ag)-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน ดินเหนียวละเอียดลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งปนเศษพืช (หรือมีชั้นดินอินทรีย์บางๆ สีน้ำตาลเข้มทับอยู่ด้านบน) มีสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง มีสีเทา มี จุดประสีน้ำตาล ดินล่างชั้นถัดไปถายในความลึก 50 ซม. จากผิวดิน เป็นดินเลนสีเทาหรือสีเทาปนน้ำเงินของตะกอนน้ำทะเลที่มีสารประกอบกำมะถันมาก (pyrite: FeS2) ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (pH 6.5-7.0) มีศักยภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน เมื่อถูกทำให้แห้ง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
25-50
สูง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
สูง
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินระแงะ และชุดดินตะกั่วทุ่ง
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินเปรี้ยวจัดระดับตื้น มีธาตุอะลูมิเนียม เหล็ก และแมงกานีสถูกละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช ธาตุฟอสฟอรัสถูกตรึงพืชดูดไปใช้ไม่ได้ และมีน้ำแช่ขังนานในรอบปี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกข้าว มีข้อจำกัดรุนแรงที่ดินเป็นกรดรุนแรงมาก ควรมีการปรับปรุงดินด้วยวัสดุปูนตามความต้องปูนของดิน ร่วมกับการไถกลบพืชปุ๋ยสดและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 พัฒนาแหล่งน้ำจืดไว้ใช้ในช่วงที่พื้นขาดน้ำ ควบคุมและลดความเป็นกรดของดิน ส่วนบริเวณที่เป็นป่าเสม็ด ควรจะรักษาสภาพป่าไว้ ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากดินมีศักยภาพค่อนข้างต่ำและยากต่อการจัดการที่ดิน




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙