ชุดดินชุมพร
(Chumphon series: Cp) |
กลุ่มชุดดินที่ 45
การจำแนกดิน Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic
Typic Paleudults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา
(ตะพักลำน้ำเก่า )
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด
มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ ดีถึงดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางในดินบนและช้าในดินล่าง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
ที่รกร้างว่างเปล่าเป็น หย่อมๆ และป่าแคระ
การแพร่กระจาย พบทั่วไปทางภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น A-Bw-Btc
ลักษณะและสมบัติดิน ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย
มีสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
(pH 5.5-6.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปน
ดินเหนียวถึงดินเหนียวปนลูกรังมาก มีสีน้ำตาล สีแดงปนเหลือง
(ชั้นลูกรังพบภายใน 50 ซม.) อาจพบจุดประสีเล็กน้อยในดินล่าง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH
4.5-6.5) |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ปานกลาง |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินคลองชาก
และชุดดินสวี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำและขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผลและพืชไร่
เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน มีข้อจำกัดปานกลางที่เป็นดินตื้น
ความอุมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำและในพื้นที่ลาดชัน
ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน ควรมีปรับปรุงดินพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
พด.2 ปลูกพืชคลุมดินหรือพืชปุ๋ยสดระหว่างแถวยางพารา
ทำแนวรั้วหญ้าแฝกหรือฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น พัฒนาแหล่งน้ำและระบบให้น้ำในแปลงปลูกพืช
เพื่อไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ |