ชุดดินสายบุรี
(Sai Buri series: Bu) |
กลุ่มชุดดินที่ 17
การจำแนกดิน Fine-silty, kaolinitic, isohyperthermic
Aquic Kandiudults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนพื้นที่ราบตะกอนน้ำพาหรือบริเวณส่วนต่ำของ
สันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้าถึงปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
และไม้ผล บางพื้นที่ใช้ ปลูกพืชผัก
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น A-BA-Bt-Btg
ลักษระและสมบัติดิน ดินทรายแป้งละเอียดลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้ง
มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด
(pH 4.5-5.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งสีน้ำตาล
และดินชั้นล่างถัดไปจะเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง
มีสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) มีจุดประสีน้ำตาล
สีเหลืองตลอดทุกชั้นดิน |
ความลึก
(ซม.) |
อินทรียวัตถุ |
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน |
ความอิ่มตัวเบส |
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ |
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์ |
ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน |
0-25
|
ปานกลาง |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
25-50 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
50-100 |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
|
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินรือเสาะ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
มีระดับใต้ดินตื้นในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำในฤดูฝน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าว
มีข้อจำกัดปานกลางที่ขาดแคลนน้ำ เหมาะสมปานกลางสำหรับการปลูกยางพารา
ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล มีข้อจำกัดปานกลางที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวหรือมีน้ำขังในฤดูฝน
ปลูกข้าว ควรมีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
พด.2 เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชที่ปลูก ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น
ควรปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
พด.2 และควรมีการทำร่องระบายน้ำ เพื่อไม่ให้มีน้ำขังในฤดูฝนและลดระดับน้ำใต้ดิน
พัฒนาแหล่งน้ำและระบบให้น้ำในแปลงปลูก เพื่อไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ |