ชุดดินท่าอุเทน (Tha Uthen series: Tu)

กลุ่มชุดดินที่ 24
การจำแนกดิน Coarse-loamy over clayey-skeletal siliceous over kaolinitic, subactive,
noncemented, isohyperthermic Oxyaquic Haplorthods
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมอยู่บนหินตะกอนเนื้อละเอียด
บนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-4 %
การระบายน้ำ ดีปานกลางในดินบนและค่อนข้างเลวในดินล่าง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็วในดินบนและช้าในดินล่าง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเบญจพรรณ ไร่เลื่อนลอย
การแพร่กระจาย พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น A-E-Bhs-2C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกปานกลางถึงชั้นลูกรัง ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน สีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาล ถัดลงไปเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล ซึ่งเป็นชั้นสะสมอินทรีย์วัตถุ อะลูมิเนียมและ/หรือเหล็ก (spodic horizon) ถัดลงไปเป็นดินเหนียวสีเทาอ่อน สีน้ำตาลซีดมากหรือสีขาว พบจุดประพวกสีแดงและพวกสีเหลืองในดินล่างระหว่างชั้นสะสมอินทรียวัตถุ อะลูมิเนียมและ/หรือเหล็กกับชั้นดินเหนียว จะพบชั้นลูกรังจับตัวกันค่อนข้างแน่นทึบในช่วงความลึกระหว่าง 50-80 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบ้านทอน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินเป็นค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรรักษาไว้ให้มีสภาพเป็นป่าตามเดิม ถ้านำมาใช้ในการเกษตรควรใช้ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชทดแทนและควรมีการจัดการดินที่ดี โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยปรับปรุงให้ดินมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้น




:: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน   กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙